Page 65 -
P. 65
ิ
์
ิ
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ื
ิ
49
การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่ บริบททางกายภาพทางการท่องเที่ยว
ื่
เชิงเกษตร ได้แก่ ชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพอ
การเรียนรู้เชิงเกษตร ชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการแลกเปลี่ยน
เรียนรู้ระหว่างชุมชนภายในและภายนอกพื้นที่มีการจัดการระบบและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
การมีส่วนร่วมของวิสาหกิจชุมชนเกษตรเพื่อสุขภาพ โดยมีศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน ด้านความรู้
วิสาหกิจชุมชนให้ความสำคัญและพร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีทรัพยากรธรรมชาติที่
หลากหลาย ศักยภาพด้านการจัดการงบประมาณ ศักยภาพด้านการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนในการสื่อสารเพื่อ
ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และศักยภาพด้านการจัดกิจกรรมเชิงเกษตร ที่ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
สามารถเรียนรู้ร่วมกันในการมีส่วนร่วมของกิจกรรมสร้างความเป็นมิตรภาพที่ดีต่อกัน ทำให้มีการวางแผนการ
จัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนที่มีแบบแผน และกระบวนการเรียนรู้ การจัดการมากขึ้น ส่งผลให้คนใน
ชุมชนมีรายได้และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (มณีรัตน์ ธีรพันธุ์เสถียร, 2562)
ศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ควรมีการประเมินด้านศักยภาพด้านคุณคาของแหล่ง
่
ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สำหรับแนวทางการพัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้ผ่านมาตรฐานการท่องเที่ยว
ได้แก่ กำหนดโครงสร้างการทำงาน จัดให้มีผู้ให้บริการนักท่องเที่ยวที่เพียงพอและพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว
ตลอดปี รวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ ภายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทำการสำรวจทรัพยากรทางการท่องเที่ยว
เชิงเกษตร และดำเนินการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (เปรมปรีดา
ทองลา, และเพ็ญศิริ สมารักษ์, 2563)
การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในชุมชนที่มีฐานการเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการนำองค์ความรู้
เรื่องการทำนาปลูกข้าว ฐานการเรียนรู้การผลิตเครื่องสำอางจากน้ำนมขาว เป็นการจัดการองค์ความรู้เรื่องการ
้
ทำนาปลูกข้าวปลอดสารพิษที่พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของชุมชน ฐานการเรียนรู้การผลิตอาหารพื้นบ้าน เพอ
ื่
การอนุรักษ์อาหารไทยพื้นบ้านของชุมชน และฐานการเรียนรู้กลุ่มบ้านพัก เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ที่มีการจัดการตกแต่งที่พักเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้ามาพักเพื่อชมธรรมชาติ
และเรียนรู้วิถีชีวิตของเกษตรกร การท่องเที่ยวเชิงเกษตรจึงเป็นการผสมผสานระหว่างการนำวิถีการดำเนินชีวิต
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นอยู่ของชาวชนบท รูปแบบของกิจกรรมและการประกอบ
อาชีพทางเกษตร ที่มีความหลากหลายในรูปแบบดั้งเดิมไปจนถึงการพัฒนาสู่แนวหน้า (รัชฎาพร บุญเรือง,
2564)
การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เน้นเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว เตรียมความพร้อม
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชม และสามารถ
ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว การพัฒนา
กิจกรรมด้านการท่องเที่ยว การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ และการสร้างเครือข่ายกับชุมชน
ตลอดจนได้รับการส่งเสริมด้านการตลาดและประชาสัมพนธ์อย่างต่อเนื่อง โดยการดำเนินงานด้านการส่งเสริม
ั