Page 64 -
P. 64
์
ิ
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
48
ส่วนเสีย และกลุ่มแกนนำนักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยการค้นหานักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ในพื้นที่ และการพัฒนานักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ที่มีทั้งการติดตั้งความรู้และการฝึกปฏิบัติ
(พัชรา เอี่ยมกิจการ และ ขจิตขวัญ กิจวิสาละ, 2561)
รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ประกอบการท่องเที่ยว ที่มีความ
ต้องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ แต่ความพร้อมของพนที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของ
ื้
พื้นที่ อาชีพ เอกลักษณ์ ความชำนาญของแต่ละแห่ง ปัจจัยและข้อจำกัดในการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อการ
บริหารจัดการ การประสานงาน การประชาสัมพันธ์ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงพื้นที่ให้
สะดวก สะอาด ปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว การให้ความรู้ การมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตลอดฤดูกาล และ
ความแตกต่างของประเภทนักท่องเที่ยวหรือ (วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ และคณะ, 2559)
ความต้องการและพฤติกรรมนักท่องเที่ยว
ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยมี 5 องค์ประกอบ คือ
1) สิ่งดึงดูดใจ 2) ที่พัก 3) กิจกรรม 4) การเดินทางและ 5) สิ่งอำนวยความสะดวก ส่งผลให้กิจการประสบ
ิ่
ี
ความสำเร็จและยังสามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการสร้างมูลค่าเพมของผลผลิตทางการเกษตร อกทั้ง
สามารถนามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ พร้อมทั้งทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนใจในความเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่สมบูรณ์แบบ นวัตกรรมการสื่อสารในมุมมองของการท่องเที่ยว ที่มีการใช้เทคโนโลยีการ
สื่อสารและสารสนเทศ รวมถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วย
นวัตกรรมการสื่อสารที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ และนานาชาติ ซึ่งนวัตกรรมการสื่อสารมา
ใช้ในการท่องเที่ยว มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการสื่อสาร ด้านการสืบค้น และด้านการจัดสรรทรัพยากร ภายใต้
องค์ประกอบของการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4 องค์ประกอบ (TOUR
Model) ได้แก่ นักท่องเที่ยว (T: Tourism) การสร้างความแตกต่าง (O: Opposite) การเข้าถึงข้อมูล
(U: Ubiquitous) และการให้ข้อมูลย้อนกลับ (R: Response) (พัชรภรณ์ สุนทรวิบูลย์, 2561)
แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ การมีสิ่งดึงดูดใจด้านทรัพยากร
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีให้บริการอย่างเพียงพอ และการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้
อย่างรวดเร็วและสะดวก เป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ และศักยภาพการ
จัดการท่องเที่ยวในปัจจุบันมีทรัพยากรท่องเที่ยว 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและ
ทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ คือ ที่พักแรม ร้านอาหาร และธุรกิจนำเที่ยว
แต่รถรับจ้าง/รถโดยสารมีให้บริการค่อนข้างน้อยแต่ไม่สามารถเดินทางเข้าถึงพื้นที่ภายใน (อิสระพงษ์
เขียนปัญญา, 2562)