Page 63 -
P. 63

ิ
                            ื
                                                                              ิ
                                                                  ิ
                                             ์
                               ิ
            โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                                       47

               ขยายการทำเกษตรจากการทำเกษตรแบบดั่งเดิมหรือเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ตาม

               สภาพพื้นที่ ความเหมาะสมของตัวเกษตรกรเอง และตามหลักการพื้นฐานของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสิ่ง

               ที่นักท่องเที่ยวคาดหวังจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยขั้นตอนการเข้าสู่ผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยวเชิง
               เกษตรรายใหม่นั้น เกษตรกรเพียงดำเนินการขยายหรือปรับเปลี่ยนพื้นที่หรือกิจกรรมทางการเกษตรบางส่วน

               เช่น การปรับการเพาะปลูกเชิงเดี่ยว เป็นการเกษตรแบบผสมผสาน การจำหน่าย แบบขายส่ง มาเป็นการขาย
               ปลีกและการแปรรูปสินค้า และจำหน่ายโดยตรงที่แหล่งท่องเที่ยว เน้นคุณภาพสินค้ามากขึ้น เพื่อสามารถ

               กำหนดราคาได้อย่างเหมาะสมกับคุณภาพ ใช้การตลาดแบบบูรณาการ การใช้แรงงานท้องถิ่น เน้นความ

               ปลอดภัยในสินค้าและการท่องเที่ยว เป็นต้น (ณัฏฐพงษ์ ฉายแสงประทีป, 2557)
                        การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

                         การสร้างนวัตกรรมการจัดการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย ใช้แนวคิดฐาน
               ทรัพยากร (Resource-Based View) เพื่อสร้างคณค่ากับองค์กร ประกอบด้วย คุณค่า (Value) ของทรัพยากร
                                                        ุ
               องค์การความหาได้ยาก (Rarity) ของทรัพยากรองค์การ การลอกเลียนแบบไม่ได้ (Immutability) ของ

               ทรัพยากรองค์การ และการทดแทนกันไม่ได้ (Non-substitutable) ของทรัพยากรองค์การ ซึ่งอิทธิพลต่อ
               นวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ได้แก่ กระบวนการกลยุทธ์ขององค์ การเรียนรู้

               วิวัฒนาการและการสืบทอดการถ่ายโอนความสามารถขององค์กร (สมพงษ์ สุเมธกชกร, 2557)

                         ต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรภายใต้แนวคิดส่วนประสมทางการตลาด
               7P’s ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่ภาครัฐมีเพียงโครงการส่งเสริมการเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร

               ทั่วไป โดยผู้ประกอบการสามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่
               หลากหลาย และเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโบราณสถานแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เพอ
                                                                                                        ื่
               ดึงดูดนักท่องเที่ยว (พัทธ์ยมล สื่อสวัสดิ์วณิชย์, 2558) สินค้าเกษตรจะพัฒนาควบคู่ไปกับการท่องเที่ยวเชิง

               วัฒนธรรมตามความต้องการของนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบความสวยงามของธรรมชาติและบรรยากาศของ แหล่ง
               ท่องเที่ยวเชิงเกษตร เรียนรู้การทำสวนผลไม้และการทำการเกษตรแบบผสมผสาน การเรียนรู้จากศูนย์ เรียนรู้

               และถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการเกษตร เดินทางตามเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อการเรียนรู้ (ครรชิต
               มาระโภชน์ และทักษินาฏ สมบูรณ์, 2559) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ได้แก่ การทำธุรกิจ

               ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสามารถทำได้ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยผู้ประกอบการต้องการให้มี

               กิจกรรมเชิงเกษตร เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้และได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิง
               เกษตร (อนัญญา ปาอนันต์, 2560)

                         การจัดการฐานข้อมูลในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สามารถดำเนินการโดยการวิเคราะห์ผู้มี

               ส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งในเนื้อหางานวิจัยและชุมชน เพื่อสื่อสารการประโยชน์จากฐานข้อมูล
               โดยการมีส่วนร่วมของ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแกนนำนักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และกลุ่มนักสื่อสารการ

               ท่องเที่ยวเชิงเกษตร รวมทั้ง การประยุกต์ใช้สื่อเดิมและสื่อใหม่ ให้มีฐานข้อมูลที่มีความถูกต้องและทันสมัย

               และส่งต่อฐานข้อมูลสู่ผู้ดูแลในพื้นที่เพอการจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรต่อไปในอนาคต สำหรับการพฒนา
                                                                                                     ั
                                               ื่
               นักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ควรมีการพัฒนากลุ่มนักสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจากกลุ่มผู้มีส่วนได้
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68