Page 59 -
P. 59

ิ
                                                                                ิ
                              ื
                                 ิ
                                               ์
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                   ิ
                                                  3. ระเบียบวิธีดำเนินการวิจัย

                       เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอขอบเขตการศึกษาของการศึกษาครั้งนี้ รวมถึงวิธีการศึกษาและแบบจำลองที่ใช้ใน

               การศึกษา และข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้

                   3.1 ขอบเขตการศึกษา
                       การศึกษาครั้งนี้เน้นประเมินผลกระทบของนโยบายหลัก (Flagship) ภายใต้การดูแลของกระทรวงเกษตร

               และสหกรณ์ทั้งหมด 8 นโยบายร่วมกัน ได้แก่ 1) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 2) แปลง
               ใหญ่ 3) การบริหารจัดการน้ำ 4) แผนการผลิตข้าวครบวงจร 5) Zoning by Agri-Map 6) ธนาคารสินค้าเกษตร 7)
               มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/เกษตรอินทรีย์ และ 8) โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยใช้ฐานข้อมูลจากแบบ
               สำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตรซึ่งทำการสุ่มตัวอย่างครัวเรือนเกษตรทั่วประเทศ

               ครอบคลุม 3 ปีเพาะปลูก ตั้งแต่ปีเพาะปลูก 2560/61 – 2562/63 โดยผลกระทบที่ได้ทำการประเมินได้แก่ รายได้
               เกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตร ต้นทุนการผลิตของครัวเรือนเกษตร รายได้สุทธิของครัวเรือนเกษตร และ
               สัดส่วนหนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือน โดยการคำนวณรายได้และรายได้สุทธิในการศึกษาครั้งนี้ไม่ได้นำเงิน
               อุดหนุนที่เกษตรกรได้รับจากภาครัฐมาพิจารณา เนื่องจากต้องการให้สะท้อนรายได้และรายได้สุทธิที่แท้จริงที่

               ครัวเรือนเกษตรได้รับ

                   3.2 วิธีการศึกษาและแบบจำลองที่ใช้ในการศึกษา

                       การประเมินผลกระทบของโครงการหรือนโยบายสาธารณะมีด้วยกันหลายแนวคิดและทฤษฎี อาทิ
               หลักการวัดการเปลี่ยนแปลงของส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (Changes in Economic Surplus) และกรอบแนวคิด
               ผลลัพธ์ศักยภาพแบบดั้งเดิม (Classical Potential Outcome Framework) โดยการศึกษาครั้งนี้จะเน้นไปที่การ

               ใช้กรอบแนวคิดผลลัพธ์ศักยภาพแบบดั้งเดิม โดยวรรณกรรมส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการประเมินผลโครงการหรือ
               นโยบายสาธารณะด้วยวิธีนี้มักใช้วิธีทางเศรษฐมิติที่มักมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของตัวประมาณ
               ค่าภายใต้สมมติฐาน Unconfoundedness ซึ่งแปลความได้ว่า ทุกตัวแปรที่เป็นปัจจัยกำหนดการตัดสินใจเข้าร่วม
               โครงการและผลกระทบของโครงการจะต้องถูกสังเกตได้โดยนักวิจัยซึ่งคุณภาพของชุดข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมาก

               นอกจากนั้นจากอดีตถึงปัจจุบัน งานวิจัยส่วนใหญ่ได้มุ่งประเมินผลกระทบของโครงการหรือนโยบายสาธารณะโดย
               ใช้ตัวแปรแบบสองทางเลือก (Binary treatment) ซึ่งริเริ่มตั้งแต่ Ashenfelter (1978), Heckman and Robb
               (1985), Lalonde (1986), Fraker and Maynard (1987) และ Manski (1990) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีวิธี
               ประมาณค่าหลากหลายวิธี อาทิ วิธี Propensity Score Matching ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในวงวิชาการ

               ซึ่งริเริ่มโดย Rosenbaum and Rubin (1983)

                       การใช้ตัวแปรแบบสองทางเลือก (Binary Treatment) จะสมมติให้คนที่เข้าร่วมโครงการทุกคนได้รับ
               ผลกระทบจากโครงการโดยเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะได้รับความช่วยเหลือในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล

               ซึ่งขัดกับความเป็นจริงเชิงประจักษ์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการมักได้รับความช่วยเหลือที่แตกต่างกัน เช่น แรงงานที่
               ว่างงานอาจจะมีทางเลือก ไม่เข้าร่วมโครงการใดๆ เลย เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมพื้นฐาน เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม


                                                             41
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64