Page 62 -
P. 62

ื
                                                                                ิ
                                               ์
                                           ิ
                                 ิ
                                                                   ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               เหมือนกัน ระดับของการเข้าร่วมโครงการควรเป็นอิสระจากผลลัพธ์ศักยภาพที่เกิดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่ง ข้อสมมติ
               (a) กำหนดว่าทุกตัวแปรที่เป็นปัจจัยกำหนดการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการและผลลัพธ์ที่เกิดจากโครงการจะต้องถูก

               สังเกตได้โดยนักวิจัยซึ่งคุณภาพของชุดข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญมาก ข้อสมมติ (a) นี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลายงานที่
               พัฒนาตัวประมาณค่า อาทิ Heckman, Ichimura, and Todd (1998), Imbens (2004), Heckman and
               Vytlacil (2007), Imbens and Wooldridge (2009), and Wooldridge (2010) ส่วนข้อสมมติ (b) บอกว่า
               สำหรับทุก ๆ x ที่เป็นไปได้ในประชากร จะมีความน่าจะเป็นในเชิงบวกที่บางครัวเรือนซึ่งมีรูปแบบ x นั้นๆ จะเข้า

               ร่วมโครงการในแต่ละระดับ กล่าวคือ เราจำเป็นจะต้องสังเกตครัวเรือนต่างๆ ตามลักษณะของ x เพื่อที่จะทราบ
               การแจกแจงผลลัพธ์ศักยภาพสำหรับครัวเรือนลักษณะนั้น


                                                            
                       ฟังก์ชัน  ( ) =p x  p 0 ( ), p 1 ( ),..., p J (x   ) นี้ได้ถูกเรียกว่า คะแนนความโน้มเอียงแบบทั่วไป
                                          x
                                                x
               (Generalized Propensity Score: GPS) ซึ่งถูกนำเสนอครั้งแรกโดย Imbens (2000) เมื่อใช้ข้อสมมติที่ 1
               Cattaneo (2010) ได้เสนอตัวประมาณค่าที่มีความยืดหยุ่นแบบ Semiparametric ที่เรียกว่า Efficient-
               Influence-Function (EIF) Estimator ซึ่งตัวประมาณค่าสามารถคำนวณหาได้โดยการประมาณค่าพารามิเตอร์
               ของประชากรสำหรับแต่ละการแจกแจงผลลัพธ์ศักยภาพ และทำการรวมค่าพารามิเตอร์เข้าด้วยกัน ตัวประมาณ

               EIF มีข้อได้เปรียบตัวประมาณอื่นๆ เช่น ตัวประมาณ inverse-Probability Weighted (IPW) เนื่องจากมี
               คุณสมบัติที่เรียกว่า Double-Robust ซึ่งทำให้มีเสถียรภาพค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับตัวประมาณอื่น (Cattaneo,
               Drukker, & Holland, 2013) โดยสามารถทำการประมาณค่าได้ดังสมการต่อไปนี้


                                                 n
                                    ˆ    s.th   1     ;z    ˆ , p x  ˆ ( ;   ) =  0
                                                                   ( ),e 
                                                                             ˆ
                                                           ˆ
                                     EIF
                                       , j
                                              n  i= 1  EIF  i  EIF , j  j  i  j  EIF , j
                                                                           ( ;
                                                         d  ( )(y −   )  e x    )
                                                             j
                       โดยที่    ;z  , p  ( ), (  ˆ ;   ) =  i  i  j  −  j  i  j   ( )d j −  p  (x   )
                                              e
                                           x
                              EIF  i  j  j  i   j   j                                i      i  i
                                                                x
                                                                              x
                                                             p j ( )       p j ( )
                                                                               i
                                                                  i

                       สำหรับนโยบายเกษตรของไทย แม้เราจะไม่สามารถหาเกษตรกรที่ไม่ได้รับนโยบายใดๆ เลย ในโลกแห่ง
               ความเป็นจริง แต่เกษตรกรรายเดียวอาจไม่ได้เข้าร่วมทุกนโยบาย ดังนั้น ความหลากหลายที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วม
               นโยบายต่างๆ จะช่วยทำให้งานวิจัยชิ้นนี้สามารถสกัดหาผลกระทบของโครงการได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น
               โครงการแต่ละโครงการย่อมมีคุณภาพที่ต่างกัน ซึ่งวิธีการประเมินผลที่ได้นำมาใช้สามารถแยกแยะคุณภาพของ
               นโยบายได้ และทำให้กระทบที่ต่างกันในแต่ละนโยบาย

                       สำหรับขั้นตอนในการประมาณค่าผลกระทบจากสมการข้างต้น ซึ่งเป็นการคำนวณหาตัวประมาณค่าที่มี
               ชื่อเรียกว่า Efficient Influence Function Estimator (EIFE) วิธีการนี้จะทำการประมาณค่าคะแนนความโน้ม
               เอียงแบบทั่วไป (Generalized Propensity Score: GPS) ซึ่งก็คือค่า p(x) โดยใช้วิธี Multinomial Logit

               Regression โดยตัวแปรตามคือ รูปแบบต่างๆ ของนโยบายที่เกษตรกรที่เข้าร่วม ซึ่งเกษตรกรแต่ละรายอาจเข้า
               ร่วมโครงการที่แตกต่างๆ ในรูปแบบต่างๆ เช่น สมมติว่ามีนโยบายของรัฐ 3 นโยบาย ได้แก่ นโยบาย A นโยบาย B


                                                             44
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67