Page 64 -
P. 64

ิ
                                                                   ิ
                                                                                ิ
                                 ิ
                              ื
                                               ์
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และได้นำข้อมูลจำนวนครัวเรือนเกษตรของประเทศและจำนวนครัวเรือนเกษตรที่
               ทำการผลิตทางการเกษตรแต่ละประเภทจากฐานข้อมูล Farmer One ซึ่งจัดทำโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

               มาร่วมวิเคราะห์ด้วย

                          เนื่องจากสภาพอากาศเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากต่อการผลิตทางการเกษตร ข้อมูลส่วนที่สองของ
               การศึกษาคือการใช้ข้อมูลทุติยภูมิด้านสภาพอากาศรายเดือน (อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน) จากสถานีตรวจอากาศ

               ทั่วประเทศไทย ซึ่งจัดทำโดยกรมอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่ถูกรวบรวมได้ถูกนำมาสร้างเป็นตัวแปรอุณหภูมิและ
               ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในช่วงฤดูเพาะปลูก โดยได้ทำการปรับข้อมูลอากาศจากสถานีตรวจอากาศให้สอดคล้องกับ
               ข้อมูลด้านการเกษตรที่อยู่ในรูปแบบขอบเขตการปกครองด้วยวิธี GIS และ Weighted Least Square ที่มีการ
               นำเสนอโดย Mendelsohn, Nordhaus, and Shaw (1994) และได้ถูกนำมาใช้ในหลายงานศึกษา อาทิ

               Pipitpukdee,  Attavanich, & Bejranonda (2020a; 2020b) โดยทำการกำหนดจุดศูนย์กลางของแต่ละจังหวัด
               แล้วตีรัศมี 250 กิโลเมตรรอบจุดศูนย์กลาง โดยข้อมูลอากาศจากสถานีตรวจอากาศที่ตกอยู่ในวงกลมที่สร้างขึ้นจะ
               ถูกนำมาประมาณหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของตัวแปรอากาศด้วยวิธี Weighted Least Square โดยมีตัวแปรอิสระ
               ใช้ในการวิเคราะห์ถดถอย ได้แก่ ละติจูด ลองจิจูด และความสูงของสถานี และทำการถ่วงน้ำหนักด้วยรากที่สอง

               ของระยะทางเชิงเส้นตรงจากจุดศูนย์กลางของจังหวัดที่พิจารณาถึงสถานีตรวจอากาศแต่ละแห่ง เพื่อถ่วงน้ำหนัก
               ข้อมูลอากาศจากสถานีตรวจอากาศที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางของจังหวัดมากกว่าข้อมูลอากาศจากสถานีตรวจอากาศที่
               อยู่ไกลจากจุดศูนย์กลางของจังหวัดออกไป วิธีการนี้เชื่อว่าข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศทั้งใกล้และไกลสามารถ

               อธิบายการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้เพราะสภาพอากาศมีตั้งแต่ระดับ Micro Climate, Meso Climate
               และ Macro Climate



































                                                             46
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69