Page 67 -
P. 67
์
ิ
ิ
ิ
ิ
ื
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
4. ผลการวิจัย
เนื้อหาในส่วนนี้นำเสนอการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาของข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ผลการประมาณค่าจาก
แบบจำลอง Multinomial Logit ผลการทดสอบข้อสมมติ Non-empty cell และการประมาณผลกระทบของ
นโยบาย ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
4.1 การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาจากข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา
เมื่อนำข้อมูลที่ศึกษามาวิเคราะห์เพื่อดูลักษณะการเข้าร่วมนโยบายต่างๆ ของครัวเรือนเกษตร ผลการ
วิเคราะห์พบว่า 79.29% ของครัวเรือนเกษตรเข้าร่วมอย่างน้อย 1 นโยบาย และมีครัวเรือนเกษตร 21.71% ที่
ไม่ได้เข้าร่วมนโยบายทั้ง 8 นโยบายที่ศึกษา (ภาพที่ 2) เมื่อพิจารณาเฉพาะครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมอย่างน้อย 1
นโยบาย พบว่า ครัวเรือนเกษตรจะเข้าร่วมเฉลี่ย 1.81 นโยบายต่อครัวเรือน โดยครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วมเพียง 1
นโยบายมีสัดส่วน 53.69% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรทั้งหมดที่เข้าร่วมนโยบาย ขณะที่ครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วม
2 นโยบายในช่วงเวลาเดียวกันมีสัดส่วน 26.55% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรทั้งหมดที่เข้าร่วมนโยบาย มีครัวเรือน
เกษตรที่เข้าร่วม 3 นโยบายในช่วงเวลาเดียวกัน 9.79% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรทั้งหมดที่เข้าร่วมนโยบาย มี
ครัวเรือนเกษตรที่เข้าร่วม 4 นโยบาย 5 นโยบาย 6นโยบาย 7 นโยบาย และ 8 นโยบายในช่วงเวลาเดียวกัน
5.12% 2.71% 1.33% 0.48% และ 0.35% ของจำนวนครัวเรือนเกษตรทั้งหมดที่เข้าร่วมนโยบาย ตามลำดับ
(ภาพที่ 3)
ภาพที่ 4 แสดงรูปแบบนโยบายที่ครัวเรือนเกษตรเข้าร่วมมากที่สุดในช่วงเวลาเดียวกัน 30 รูปแบบแรก
จากทั้งหมด 134 รูปแบบ โดย 10 รูปแบบแรก ได้แก่ 1) แผนการผลิตข้าวครบวงจร 2) แผนการผลิตข้าวครบวงจร
และการบริหารจัดการน้ำ 3) บริหารจัดการน้ำ 4) แผนการผลิตข้าวและแปลงใหญ่ 5) แผนการผลิตข้าวและ ศพก.
6) แผนการผลิตข้าวและเกษตรทฤษฎีใหม่ 7) แผนการผลิตข้าวและมาตรฐานสินค้าเกษตร GAP และ เกษตร
อินทรีย์ 8) แผนการผลิตข้าว มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/เกษตรอินทรีย์ และเกษตรทฤษฎีใหม่ 9) แผนการผลิต
ข้าวครบวงจร การบริหารจัดการน้ำ และ ศพก. 10) แผนการผลิตข้าว แปลงใหญ่ และการบริหารจัดการน้ำ จาก
ข้อมูลเชิงประจักษ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนเกษตร 1 ครัวเรือนได้รับประโยชน์มากกว่า 1 นโยบาย ดังนั้น
การประเมินผลกระทบของนโยบาย โดยพิจารณาเฉพาะนโยบายใดนโยบายหนึ่งเท่านั้น อาจทำให้ผลกระทบที่
ประเมินได้ของนโยบายนั้น ไม่ใช่ผลกระทบนโยบายที่ต้องการประเมินอย่างแท้จริง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการ
แก้ปัญหาการประมาณค่าที่เกิดขึ้นซึ่งน่าจะทำให้ได้ผลการศึกษาที่สะท้อนถึงการประเมินผลกระทบของนโยบายที่
ใกล้เคียงกับค่าที่แท้จริงมากขึ้น
49