Page 71 -
P. 71
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
์
4.2 ผลการประมาณค่าจากแบบจำลอง Multinomial Logit
ในส่วนนี้นำเสนอผลการประมาณค่าจากแบบจำลอง Multinomial Logit ซึ่งนับเป็นขั้นตอนแรกของการ
ประมาณผลกระทบของนโยบายแบบหลายทางเลือก (Multi-Valued Treatment) เพื่อใช้ในการประมาณค่า
คะแนนความโน้มเอียงแบบทั่วไป (Generalized Propensity Score: GPS) การเลือกตัวแปรอิสระที่เหมาะสมมา
ใส่ในแบบจำลองได้ใช้การเปรียบเทียบค่า Bayesian Information Criterion ตามคำแนะนำของ Cattaneo,
Drukker, & Holland (2013)
ตารางที่ 3 - ตารางที่ 10 แสดงตัวอย่างผลการประมาณค่าจากแบบจำลอง Multinomial Logit จาก 8
ทางเลือกที่ครัวเรือนเกษตรเลือกเข้าร่วมเพียงนโยบายใดนโยบายหนึ่งเท่านั้นจาก 8 นโยบายที่ศึกษา โดยทางเลือก
ในการเข้าร่วมนโยบายในการศึกษาครั้งนี้สามารถทำได้เพียง 27 ทางเลือกจาก 134 ทางเลือก เนื่องจากข้อมูลใน
ทางเลือกในการเข้าร่วมนโยบายในส่วนหลังมีจำนวนชุดข้อมูล (Observation) ไม่เพียงพอในการวิเคราะห์
ตารางที่ 3 แสดงผลการประมาณค่าจากแบบจำลอง Multinomial Logit จากทางเลือกเข้าร่วมใน
นโยบาย ศพก. ซึ่งพบว่า อายุหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์แบบในรูปแบบไม่ใช่เส้นตรง กล่าวคือ เมื่ออายุไม่มาก
หัวหน้าครัวเรือนจะมีแนวโน้มเข้าร่วมนโยบายมากขึ้นขึ้น แต่แนวโน้มนี้จะลดลงเมื่อหัวหน้าครัวเรือนมีอายุเพิ่มขึ้น
ครัวเรือนที่เป็นสมาชิก ธ.ก.ส. และสหกรณ์การเกษตรมีแนวโน้มเข้าร่วมนโยบายนี้มากกว่าสมาชิกประเภทอื่น
รวมถึงเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มใดๆ เลย ปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นในช่วง พ.ค.-ก.ค. จะทำให้ครัวเรือนเกษตรมี
แนวโน้มเข้าร่วมนโยบายลดลง
ตารางที่ 4 แสดงผลการประมาณค่าจากแบบจำลอง Multinomial Logit จากทางเลือกเข้าร่วมใน
นโยบายแปลงใหญ่ ซึ่งพบว่า อายุหัวหน้าครัวเรือน การเป็นสมาชิก ธ.ก.ส. และสหกรณ์การเกษตร และปริมาณฝน
มีความสัมพันธ์คล้ายคลึงกับการเข้าร่วมโครงการ ศพก. ครัวเรือนเกษตรที่ทำกิจกรรมการผลิตที่หลากหลายมี
แนวโน้มเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่มากกว่าครัวเรือนเกษตรที่ทำกิจกรรมการผลิตไม่หลากหลาย ครัวเรือนเกษตร
ที่ครอบครองรถแทรกเตอร์มีแนวโน้มเข้าร่วมนโยบายแปลงใหญ่มากกว่าครัวเรือนเกษตรที่ไม่มีรถแทรกเตอร์
ตารางที่ 5 แสดงผลการประมาณค่าจากแบบจำลอง Multinomial Logit จากทางเลือกเข้าร่วมใน
นโยบายบริหารจัดการน้ำ ซึ่งพบว่า หัวหน้าครัวเรือนที่ทำเกษตรเต็มเวลามีแนวโน้มเข้าร่วมนโยบายนี้มากกว่า
หัวหน้าครัวเรือนที่ทำเกษตรไม่เต็มเวลา อายุของหัวหน้าครัวเรือนมีความสัมพันธ์คล้ายคลึงกับการเข้าร่วมโครงการ
ศพก. และแปลงใหญ่ สัดส่วนคนหนุ่มสาวในครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้แนวโน้มการเข้าร่วมนโยบายนี้ลดลง
ครัวเรือนที่เป็นสมาชิก ธ.ก.ส. และกลุ่มเกษตรกรจะทำให้แนวโน้มการเข้าร่วมนโยบายนี้น้อยกว่าสมาชิกประเภท
อื่นรวมถึงเกษตรกรที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มใดๆ เลย ครัวเรือนที่ทำกิจกรรมการผลิตที่หลากหลาย ครอบครองรถ
แทรกเตอร์ และขายสินค้าให้โรงงาน มีแนวโน้มการเข้าร่วมนโยบายนี้น้อยกว่าครัวเรือนที่มีการผลิตไม่หลากหลาย
53