Page 63 -
P. 63

ิ
                              ื
                                 ิ
                                                                                ิ
                                                                   ิ
                                               ์
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               และนโยบาย C ดังนั้น มีความเป็นไปได้ที่เกษตรกรอาจไม่ได้เข้าร่วมโครงการใดๆ เลย หรือ เข้าโครงการ A เพียง

               อย่างเดียว หรือ โครงการ B เพียงอย่างเดียว หรือ โครงการ C เพียงอย่างเดียว หรือ เข้าร่วมโครงการ A และ B
               หรือ เข้าร่วมโครงการ A และ C หรือ เข้าร่วมโครงการ B และ C หรือ เข้าร่วมโครงการ A B และ C ดังนั้น ตัวแปร
                               ั้
               ตามในที่นี้จะมีค่าตงแต่ 1-7

                       สำหรับตัวแปรอิสระคือปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการและผลกระทบที่ต้องการวัด (รายได้

               เกษตรทางตรง ต้นทุนการผลิต รายได้สุทธิเกษตรทางตรง และภาระหนี้สิน) ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ
               คุณลักษณะของครัวเรือน เช่น เพศ อายุ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน การศึกษา การเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร เป็น

               ต้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของฟาร์ม เช่น พืชที่ปลูก จำนวนกิจกรรมทางการเกษตร การครอบครองรถ
               แทรกเตอร์ ช่องทางการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของพื้นที่ที่ฟาร์มตั้งอยู่ เช่น

               ปริมาณน้ำฝน การเข้าถึงเขตชลประทานของฟาร์ม เป็นต้น เมื่อประมาณสมการถดถอยด้วยวิธี Multinomial
               Logit เรียบร้อย จากนั้นจะทำการพยากรณ์ค่าคะแนนความโน้มเอียงแบบทั่วไป (GPS) โดยเกษตรกรแต่ละ
               ครัวเรือนจะมีค่า GPS ในแต่ละรูปแบบของโครงการที่เข้าร่วม หรือความน่าจะเป็นในการเข้าร่วมโครงการใน

               รูปแบบต่างๆ  จากนั้น จะนำค่า GPS ที่ประมาณได้มาใส่ในสมการก่อนหน้า เพื่อประมาณหาผลกระทบของ
               นโยบายต่างๆ ต่อไป


                   3.3 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา
                       การศึกษาครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ โดย

               สามารถอธิบายข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้ดังนี้

                       3.3.1 ข้อมูลทุติยภูมิ

                          ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินผลกระทบโดยใช้ตัวแปรแบบหลายทางเลือก (Multi-Valued Treatment)
               ครั้งนี้เป็นข้อมูลทุติยภูมิที่ได้รวบรวมจากหลายแหล่ง สำหรับข้อมูลหลักที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือข้อมูลทุติยภูมิที่ได ้
               จากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร ซึ่งเป็นข้อมูลระดับฟาร์ม (Farm-Level Data) ที่
               จัดทำโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจะครอบคลุม 3 ปีการเพาะปลูก เริ่ม

               จากปีการเพาะปลูก 2560/61 – 2562/63 ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดที่ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้จัดทำขึ้น โดย
               ข้อมูลเป็นแบบภาคตัดขวางซ้ำ (Repeated Cross-Sectional Data) กล่าวคือในแต่ละปีของการสำรวจ อาจไม่ใช่
               เกษตรกรรายเดิมที่เป็นผู้ให้ข้อมูล โดยในแบบสำรวจได้มีการสอบถามกลุ่มตัวอย่างถึงการเข้าร่วมนโยบายหลักทั้ง

               8 นโยบายภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อมูลที่ถูกรวบรวมจากแบบสำรวจภาวะ
               เศรษฐกิจ สังคม และแรงงานเกษตรจะประกอบด้วยหลายตัวแปร เช่น ประเภทของนโยบายหรือโครงการ
                                                  ้
               สาธารณะที่ครัวเรือนเกษตรเข้าร่วม รายไดเกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตร ต้นทุนการผลิตของครัวเรือนเกษตร
               รายได้สุทธิเกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตร ภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตร ขนาดของพื้นที่ถือครอง ลักษณะ

               ทั่วไปของเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของฟาร์ม เป็นต้น นอกจากนั้น ได้มีการนำข้อมูลงบประมาณรายจ่ายของทั้ง 8
               นโยบายตลอด 3 ปีเพาะปลูกมาร่วมวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณซึ่งได้รับการอนุเคราะห์จาก

                                                             45
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68