Page 23 -
P. 23

ื
                                           ิ
                                               ์
                                                                   ิ
                                                                                ิ
                                 ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                              2. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

                   การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในส่วนนี้ได้ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนย่อย ได้แก่ 1. การทบทวนงานวิจัยด้านการ

               ประเมินผลกระทบของโครงการและนโยบายสาธารณะในภาคเกษตรไทย และ 2. การทบทวนข้อมูลทั่วไปของ
               โครงการสาธารณะในภาคเกษตรไทยที่ได้เลือกศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้

                   2.1 การทบทวนงานวิจัยด้านการประเมินผลกระทบของโครงการและนโยบายสาธารณะในภาคเกษตรไทย

                      งานวิจัยในอดีตได้ทำการประเมินผลกระทบของโครงการและนโยบายสาธารณะในภาคเกษตรไทยต่อ
               ความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของเกษตรกรไทยในหลายโครงการซึ่งแต่ละโครงการมีวัตถุประสงค์ ลักษณะ และ
               เงื่อนไขของการเข้าร่วมโครงการที่แตกต่างกัน หลายงานวิจัยส่วนใหญ่ได้มุ่งศึกษาผลกระทบของโครงการรับจำนำ

               ข้าว ขณะที่การศึกษาผลกระทบของโครงการสาธารณะอื่นในภาคเกษตรต่อความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของ
               เกษตรกรไทยยังมีค่อนข้างจำกัด

                      เมื่อพิจารณาผลกระทบของโครงการรับจำนำข้าว Masang (1994) ได้ประเมินรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการมี

               โครงการรับจำนำข้าวของชาวนาในปีการผลิต 2534/2535 โดยใช้การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental
               Designs) กับชาวนาใน 6 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี ลพบุรี พิจิตร พิษณุโลก ขอนแก่น และพัทลุง และใช้
               แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยเกษตรกรที่เข้า
               ร่วมจำนวน 193 ครัวเรือน และไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ 187 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 380 ครัวเรือน ผลการศึกษา

               พบว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น 3,969 บาทต่อฟาร์ม และสรุปว่าโครงการรับจำนำข้าวในช่วงเวลานั้น
               มีประสิทธิผลที่ดี อย่างไรก็ตามการรับจำนำในช่วงเวลานั้นราคารับจำนำมีระดับต่ำกว่าราคาตลาดซึ่งแตกต่างจาก
               การรับจำนำในช่วงหลังโดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่ 7 ตุลาคม 2554 ที่รัฐบาลได้ตั้งราคารับจำนำสูงกว่าตลาดอย่างมาก
               โดยราคารับจำนำอยู่ระหว่าง 15,000-20,000 บาทต่อตันขึ้นอยู่กับชนิดของข้าวซึ่งสูงกว่าราคาตลาดถึงประมาณ

               5,800-8,000 บาทต่อตัน

                      โดยนิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ (2556) ได้ประเมินผลกระทบของโครงการรับจำนำข้าวในช่วงเวลา

               ดังกล่าวต่อการยกระดับรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในช่วงตั้งแต่เริ่มโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการ
               ผลิต 2554/2555 ถึง โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 โดยใช้วิธีนำเสนอหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับ
               ผลดีและผลเสียของโครงการจำนำข้าว ซึ่งใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ที่หลากหลาย อาทิ ปริมาณผลผลิตข้าวนาปีปี
               2554/55 ปริมาณผลผลิตข้าวนาปรังปี 2555 ปริมาณข้าวเข้าโครงการจำนำ ราคาตลาดข้าวภายในประเทศจาก
               สมาคมโรงสี มูลค่าข้าวที่จำนำตามใบประทวนที่เกษตรกรนำไปเบิกเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

               การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวนครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว งานวิจัยพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว
               ได้รับประโยชน์จากการที่ราคาจำนำสูงกว่าราคาตลาดมูลค่าเท่ากับ 126,471 ล้านบาท นอกจากนั้นงานวิจัยชิ้นนี้
               ยังระบุว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการแต่มีผลผลิตข้าวส่วนเกินเพื่อขายในตลาดจะได้รับประโยชน์

               ด้วย โดยเมื่อใช้ราคาเฉลี่ยในฤดูเก็บเกี่ยวปี 2553/2554 ที่ไม่มีการจำนำ เทียบกับราคาตลาดในปี 2554/2555
               ผลประโยชน์ที่เกษตรกรซึ่งไม่ได้เข้าร่วมโครงการได้รับจะมีมูลค่าประมาณ 11,354 ล้านบาท โดยงานวิจัยชิ้นนี้ยัง


                                                              5
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28