Page 21 -
P. 21

ื
                                           ิ
                                 ิ
                                                                   ิ
                                                                                ิ
                                               ์
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               รับจำนำข้าวช่วยยกระดับรายได้และลดหนี้สินให้กับเกษตรกร แต่เมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่มีการใช้จ่าย
               ผ่านโครงการนั้น ทำให้โครงการรับจำนำข้าวในช่วงเวลานั้นไม่มีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ นอกจากโครงการรับ

               จำนำข้าวแล้ว วิษณุ อรรถวานิช (2562) ได้ทำการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการสานพลังประชารัฐ
               เพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังนาของเกษตรกรผู้ที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ในฤดูแล้งปี 2562 ด้วย
               “วิธีการแมทชิ่งโดยใช้คะแนนความโน้มเอียง” เพื่อประเมินผลเชิงเศรษฐกิจ และประยุกต์ใช้แนวคิด Subjective
               Well-Being เพื่อประเมินผลกระทบเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลครัวเรือน

               เกษตร จำนวน 1,180 ครัวเรือน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 37 จังหวัด ผลการศึกษา พบว่า ก่อให้เกิดผลประโยชน์เชิง
               เศรษฐกิจ 3,854.83 ล้านบาท และช่วยทำให้มลพิษทางอากาศลดลงจากการเผาเพื่อจัดการแปลงที่ลดลง โดย
               โครงการฯ สามารถก่อให้เกิดมูลค่าผลประโยชน์เชิงบวกด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมคิดเป็นมูลค่า 2,008,566,658
               บาท


                       แม้ว่างานวิจัยในอดีตข้างต้นซึ่งมีค่อนข้างจำกัดได้ประเมินถึงผลกระทบในมิติต่างๆ ต่อเกษตรกรและ
               สังคมไทยจากโครงการสาธารณะในภาคเกษตรจะได้พยายามแก้ปัญหาความโอนเอนในการคัดเลือกตามหลักการ

               ประเมินผลนโยบาย แต่งานวิจัยทั้งหมดเน้นประเมินผลกระทบเฉพาะโครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้นำ
               โครงการสาธารณะอื่นๆ ในภาคเกษตรที่เกษตรกรเข้าร่วมโครงการมาพิจารณาพร้อมกัน จากการวิเคราะห์ข้อมูล

               การมีส่วนร่วมเชิงนโยบายที่จัดทำโดยกรมส่งเสริมการเกษตรในปี 2561 Attavanich et al. (2019) พบว่า
               เกษตรกรในแต่ละครัวเรือนส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการสาธารณะมากกว่า 1 โครงการ เช่น เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เข้า
               ร่วมโครงการชดเชยค่าเก็บเกี่ยว ส่วนหนึ่งจะเข้าร่วมโครงการเยียวยาภัยพิบัติ โครงการประกันภัยข้าวนาปี และ

               นโยบายแปลงใหญ่ เป็นต้น ดังนั้น ผลกระทบที่ประเมินได้จากโครงการใดโครงการหนึ่ง อาจไม่ใช่ผลกระทบที่
               แท้จริงจากการดำเนินโครงการนั้นเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ทราบผลกระทบของโครงการใดโครงการหนึ่งอย่าง

               แท้จริง จำเป็นจะต้องนำโครงการหรือนโยบายสาธารณะอื่นมาวิเคราะห์ร่วมด้วย ควบคู่กับการแก้ปัญหาความเอน
               เอียงในการคัดเลือก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลกระทบนั้นๆ มาจากโครงการที่พิจารณาอย่างแท้จริง โดยไม่ได้มาจาก

               ปัจจัยอื่น หรือโครงการหรือนโยบายสาธารณะอื่นๆ


                       งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณะในภาคเกษตรต่อรายได้
               เกษตรทางตรง ต้นทุนการผลิต รายได้สุทธิเกษตรทางตรง และภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตรไทยที่เข้าร่วม
               โครงการ โดยงานศึกษาในครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้วิธีการในการประเมินผลกระทบของโครงการหรือนโยบายสาธารณะ

               หนึ่งๆ โดยคำนึงถึงโครงการหรือนโยบายสาธารณะอื่นๆ ที่เกษตรกรเข้าร่วมในเวลาเดียวกัน และใช้วิธีการประมาณ
               ค่าที่สามารถบรรเทาปัญหาความเอนเอียงในการคัดเลือกเพื่อให้สามารถทราบผลกระทบของโครงการหรือนโยบาย

               สาธารณะต่างๆ ที่ใช้ในภาคเกษตรต่อความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของเกษตรกรไทยอย่างแท้จริง ผลการศึกษาจาก
               งานวิจัยชิ้นนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ สื่อมวลชน ภาคเอกชน และประชาชน

               ทั่วไป โดยเกษตรกรสามารถนำไปเป็นข้อมูลในการศึกษาผลประโยชน์ที่ได้รับและใช้ในการตัดสินใจในการเข้าร่วม
               นโยบายสาธารณะในอนาคต หน่วยงานภาครัฐสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงนโยบายเกษตรของประเทศให้ดี



                                                              3
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26