Page 20 -
P. 20

ิ
                              ื
                                               ์
                                                                   ิ
                                                                                ิ
                                 ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
               ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือนโยบายส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรเชิงพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพ
                                                    ้
               เช่น นโยบายแปลงใหญ่ การบริหารจัดการนำ แผนการผลิตข้าวครบวงจร Zoning by Agri-Map โครงการส่งเสริม
               เกษตรทฤษฎีใหม่ และธนาคารสินค้าเกษตร ตลอดจนนโยบายที่ส่งเสริมมาตรฐานสินค้าเกษตร เช่น การส่งเสริม
               มาตรฐานสินค้าเกษตร GAP/เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น โดยนโยบายต่างๆ ข้างต้นจำเป็นต้องใช้งบประมาณแผ่นดินใน
               แต่ละปีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยที่ทำการประเมินผลกระทบขั้นสูงต่อความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของ
               เกษตรกรตลอดจนความคุ้มค่าของการดำเนินนโยบายเหล่านี้ในภาคเกษตรค่อนข้างน้อย งานวิจัยส่วนใหญ่มักมีการ

               จัดทำโดยหน่วยงานของภาครัฐซึ่งมักจะมีการจัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการหรือ
               นโยบายเท่านั้น และมีการสอบถามผลลัพธ์ต่างๆ (อาทิ รายได้ ต้นทุนการผลิต เป็นต้น) ในปีที่ผ่านมาและปีปัจจุบัน
               จากนั้นจึงนำค่าเฉลี่ยของผลลัพธ์ก่อนและหลังมีนโยบายมาเปรียบเทียบกัน การเปรียบเทียบอย่างง่ายโดยวิธีนี้มี
               จุดอ่อนหลายประการตามหลักการประเมินผล เนื่องจากปีที่ผ่านมาและปีปัจจุบัน ปัจจัยที่กำหนดผลลัพธ์ต่างๆ

               อาจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ปีที่แล้วสินค้าเกษตรมีราคาตกต่ำ  แต่ปีปัจจุบันมีราคาสูง หรือ ปีที่ผ่านมาเกิดภาวะภัย
               แล้ง ขณะที่ปีปัจจุบัน ฝนตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ต้องการประเมินอาจมาจากปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่
               นโยบายที่ต้องการประเมิน


                       นอกจากนั้น อีกวิธีหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการประเมิน คือ การนำค่าเฉลี่ยของผลลัพธ์ที่ต้องการประเมิน
               (อาทิ รายได้ ต้นทุนการผลิต เป็นต้น) มาเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและกลุ่ม
               เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ และสรุปว่าผลต่างของค่าเฉลี่ยที่ได้คือผลกระทบของนโยบาย จุดอ่อนของการ

               ประเมินวิธีการนี้คือ ปัญหาความโอนเอนในการคัดเลือก (Selection Bias) หากการเข้าร่วมโครงการเป็นไปโดย
               สมัครใจ (Voluntary Participation) ซึ่งโครงการหรือนโยบายสาธารณะในภาคเกษตรไทยมักมีลักษณะนี้ เช่น
               โครงการฝึกอบรมเกษตรกร เกษตรกรที่เข้าร่วมมักเป็นผู้ที่ใส่ใจและมุ่งมั่นใฝ่หาความรู้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่วน
               เกษตรกรที่ไม่ได้เข้าร่วมการฝึกอบรม อาจเป็นผู้ที่มีความใส่ใจน้อยต่อการพัฒนา ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ต้องการประเมิน
               ของเกษตรกรทั้งสองกลุ่มก็แตกต่างกันอยู่ แม้ไม่มีนโยบายฝึกอบรมนี้เกิดขึ้น นอกจากนั้น ตามหลักของการ

               ประเมินผลกระทบในเชิงวิชาการ หากต้องการทราบว่าโครงการหรือนโยบายสาธารณะนั้นๆ ทำให้เกษตรกรที่เข้า
               ร่วมมีระดับรายได้สูงขึ้นหรือไม่ เราจะต้องเปรียบเทียบระดับรายได้ของเกษตรกรรายนั้นในกรณีที่มีโครงการกับ
               รายได้ของเกษตรกรคนเดิมในกรณีที่ไม่มีโครงการ แต่ปัญหาคือเราไม่สามารถหาข้อมูลของเกษตรกรคนใดคนหนึ่ง

               ซึ่งเข้าร่วมโครงการและไม่ได้เข้าร่วมโครงการในเวลาเดียวกันได้ (Caliendo and Kopeinig, 2008)

                       อย่างไรก็ตาม งานวิจัยในอดีตได้เริ่มมีการนำเทคนิคการประเมินผลกระทบทางเศรษฐมิติขั้นสูงมาใช้มาก
               ขึ้นเพื่อขจัดปัญหาความโอนเอนในการคัดเลือก อาทิ Masang (1994) ได้ประเมินรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการมี

               โครงการรับจำนำข้าวของชาวนาในปีการผลิต 2534/2535 โดยใช้การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental
               Designs) กับชาวนาใน 6 จังหวัด และพบว่า ผู้ที่เข้าร่วมโครงการฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น 3,969 บาทต่อฟาร์ม และได้
               สรุปว่าโครงการรับจำนำข้าวในช่วงเวลานั้นมีประสิทธิผลที่ดี ขณะที่ วิษณุ อรรถวานิช (2558) ได้ประยุกต์ใช้วิธีการ
               แมทชิ่งโดยใช้คะแนนความโน้มเอียง (Propensity Score Matching หรือ PSM) เพื่อขจัดปัญหาการโอนเอนใน

               การคัดเลือก งานศึกษานี้ได้วิเคราะห์ครอบคลุม 3 ปีการเพาะปลูก (2553/54 2554/55 และ 2555/56) และทำ
               การประเมินผลกระทบของโครงการฯ ต่อผู้ที่เข้าร่วมและไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ โดยผลการศึกษาพบว่า โครงการ


                                                              2
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25