Page 19 -
P. 19

ิ
                                           ิ
                                                                                ิ
                                                                   ิ
                                               ์
                              ื
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                          1. บทนำ


                       ภาคเกษตรนับว่าเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยเนื่องจากเป็นทั้งแหล่งอาหารหลักของ
               ประชากรในประเทศและเป็นแหล่งจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกสินค้าเกษตร ในระดับโลก
               ภาคเกษตรไทยยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประชากรโลกอีกด้วย

               (Attavanich, 2016) ที่ผ่านมา การขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้ประเทศไทยปรับเปลี่ยนสถานะจากประเทศที่อยู่ใน
               กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางค่อนข้างต่ำเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้ระดับปานกลางค่อนข้างสูง และมีการเปลี่ยน

               จากสังคมที่พึ่งพิงเกษตรกรรมเป็นหลักไปสู่สังคมที่พึ่งพิงอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนา
               เศรษฐกิจข้างต้นได้ก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตร ดังจะเห็นได้จาก

               มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้นของภาคเกษตรไทยในปี 2562 คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ร้อยละ 9.1
               ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2563)

               แต่กระนั้นก็ตาม ภาคเกษตรยังเป็นแหล่งการจ้างงานที่สำคัญโดยมีการจ้างถึง 12.62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 34.08
               ของจำนวนจ้างงานทั้งประเทศ (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2563) และในปีเดียวกันมีครัวเรือนที่อยู่ในภาคเกษตร
               จำนวน 8.08 ล้านครัวเรือน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2564) จึงอาจกล่าวได้ว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ของ

               ประเทศยังมีฐานะยากจนเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจอื่นๆ


                       แม้ว่าในปัจจุบันเกษตรกรจะเริ่มมีการนำเครื่องจักรกลการเกษตรสมัยใหม่มาใช้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 60
               ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมดในปี 2556 (Attavanich et al., 2019) โดยครัวเรือนเกษตรไทยสามารถเข้าถึงการใช้

               บริการ และนโยบายต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้เครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้นของภาครัฐ อาทิ การ
               ปล่อยสินเชื่อให้เกษตรกรผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อย่างไรก็ตาม การผลิตใน

               ภาคเกษตรไทยยังมีปัจจัยภายนอกอีกหลายอย่างที่ส่งผลกระทบ เช่น ความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ ภัย
               พิบัติจากธรรมชาติ ความผันผวนของราคาผลผลิต การสูงขึ้นของต้นทุนการผลิต การเสื่อมของคุณภาพดิน การถูก
               เอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง เป็นต้น (Attavanich, 2017; Pipitpukdee, Attavanich, & Bejranonda, 2020)

               นอกจากนั้นยังมีอุปสรรคอันเกิดจากการบริหารจัดการฟาร์มของตัวเกษตรกรเอง เช่น การขาดความรู้
               ความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ และการขาดความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

               สนับสนุน การเช่าที่ดินทำกิน การจัดหาแหล่งน้ำ ฯลฯ (Attavanich et al., 2019; Pochanasomboon,
               Attavanich, & Kidsom, 2020) ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นส่งผลทำให้รายได้ของเกษตรกรไม่มั่นคงและอาจจะได้
               ผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการลงทุนอันจะนำมาซึ่งปัญหาหนี้สินที่เพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ทาง

               เศรษฐกิจของเกษตรกรในที่สุด


                       เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของครัวเรือนเกษตร รัฐบาลไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ใช้นโยบายเกษตร
               ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ นโยบายแทรกแซงราคาตลาด ซึ่งได้แก่ การประกันรายได้ขั้นต่ำ การพยุงราคาข้าว
               การรับจำนำข้าว (สมพร อิศวิลานนท์, 2556) หรือนโยบายที่เน้นส่งเสริมความรู้ เช่น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24