Page 146 -
P. 146
ิ
ุ
์
ั
ิ
ิ
ื
ิ
โครงการหนังสออเล็กทรอนกส เฉลมพระเกียรตสมเด็จพระเทพรตนราชสดาฯ สยามบรมราชกุมาร ี
หลักฐานล้านนาในเอกสารโบราณจีน
ตารางที่ 6.4
洪武二十七年五月,癸丑。云南八百土官刀板冕遣其叔父刀板直进象牙、
席、香药等物。赐板直等三十六人钞四百八十锭,罗绮各十匹,布一百二十
匹。
(明官修:《明实录•太祖洪武实录》,卷二三三,页 2)
วันกุ๋ยโฉ่ว เดือน 5 ปีที่ 27 แห่งรัชศกหงอู่ (วัน 15 ค่ า เดือน 5 ปฏิทินเกษตรจีน – 13
มิถุนายน ค.ศ.1394 / พ.ศ.1937) ข้าหลวงท้องที่ผู้ปกครองปาไป่ (แปดร้อย) เตาป๋านเหมี่ยน
้
ส่งเตาป่านจื๋อซึ่งเป็นอาของตนมาถวายงาชาง เสื่อและเครื่องหอม พระราชทานเงนให้เตา
ิ
ป่านจื๋อและพวก 36 คนเป็นเงิน 480 ก้อน ผ้าหลัวและผ้าฉี่อย่างละ 10 พับ ผ้า 120 พับ
(ราชส านักหมิง. หมิงสือลู่ ว่าด้วยเหตุการณ์ในรชศกหงอู่รชกาลไท่จู่. บรรพ 233.หน้า 2)
ั
ั
อธิบาย
ผ้าหลัวและผ้าฉี่(罗绮)ในหมิงสือลู่มีกล่าวถึงผ้าที่พระราชทานให้อาณาจักรต่างๆ
หลายตอน ภาษาจีนโบราณไม่แบ่งวรรคตอน ในฉบับรวมคัดสรรมีทั้งแบ่งทีละอักษร และ
เขียนติดกันไปไม่แบ่งวรรคตอน จะแปลรวมเป็นผ้า หรือแพรพรรณก็ได้ หรือจะแปลแยกให้รู้
ั
ถึงประเภทของผ้าอย่างชดเจนก็ได้ ในฉบับแปลนี้ ผู้แปลเลือกแปลโดยวิธีทับศัพท์และแยก
ประเภท โดยใส่ค าว่าผ้าไว้หน้าค าที่ทับศัพท์เพื่อให้รู้ว่าหมายถึงผ้า เชน “หลัวฉี่” แปลเป็นผ้า
่
้
หลัวและผ้าฉี่ โดยเมื่อปรากฏศัพท์ใดเป็นครั้งแรกจะให้ค าอธิบายไว้ ใชหลักการเดียวกันนี้กับ
การแปลค าที่หมายถึงผ้าทั้งหมด สาเหตุที่ไม่แปลว่าไหมหรือแพรนั้น เพราะศัพท์ที่เรียกผ้าที่
ปรากฏในหมิงสือลู่ละเอียดมาก โดยมากความแตกต่างไม่ใชเรื่องของวัสดุ แต่เป็นเรื่องของ
่
้
วิธีการทอ ตัวอย่างเช่น ผ้าหลัวกับผ้าฉี่นี้แตกต่างกัน ผ้าหลัวใชวิธีการทอโดยมีการขัดด้ายยืน
่
่
ไปมาไขว้กันในแต่ละชวง คือทอด้ายพุ่งไปตามเส้นด้ายยืนแบบปกติชวงหนึ่งแล้วขัดไขว้
ต าแหน่งด้ายยืนสลับกันตลอดแนวกว้าง จากนั้นทอด้ายพุ่งไปตามเส้นด้ายยืนแบบปกติอีก
ช่วงหนึ่ง ท าให้ผ้าที่ได้มีลักษณะบางเบา ส่วนผ้าฉี่เป็นผ้าที่ทอเป็นลวดลายโดยใช้ลายเฉียง
119