Page 86 -
P. 86
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช
CAM plant พืชแคม : พืชที่เติบโตได้ในสภาพแห้งแล้ง มีวิวัฒนาการเพื่อลดการสูญเสียน�้าทางปากใบ
ในเวลากลางวัน โดย (1) ลดรูปของใบให้มีขนาดเล็กลง (2) ปิดปากใบในเวลากลางวัน (3) มี
ใบและล�าต้นอวบน�้า และ (4) ปรับกระบวนการสังเคราะห์แสงให้มีทั้งกลางคืนและกลางวัน พบ
ครั้งแรกในพืชชื่อ Bryophyllum calycium วงศ์ Crassulaceae เป็นพืชที่มีใบอวบน�้า จึงเรียก
กลไกของการสังเคราะห์แสงว่า Crassulacean acid metabolism (CAM) พืชในกลุ่มนี้ได้แก่
สับปะรด และกระบองเพชร (ตะบองเพชร)
capacity factor ปัจจัยด้ำนควำมจุ : ปริมาณธาตุอาหารส่วนส�ารองในดินที่ละลายยาก แต่จะปลดปล่อย
หรือเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในสารละลายดิน เมื่อส่วนที่มีอยู่ในสารละลายดินแต่เดิม ถูกรากพืชดูดหรือ
สูญหายไปโดยวิธีอื่น ปริมาณธาตุอาหารส่วนส�ารองในดินและอัตราการปลดปล่อยมีความส�าคัญมาก
เพราะหากปลดปล่อยสู่สารละลายดินอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง ก็จะช่วยหล่อเลี้ยงพืชให้เจริญเติบโต
ได้ตลอดช่วงอายุ (เปรียบเทียบกับ intensity factor)
carbamic acid กรดคำร์บำมิก : กรดอินทรีย์ที่เป็นสารมัธยันตร์ (intermediate product) เกิดใน
ปฏิกิริยาการผลิตยูเรียจากแอมโมเนียกับคาร์บอนไดออกไซด์ กล่าวคือเมื่อแอมโมเนีย 1 โมเลกุล
ท�าปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ 1 โมเลกุลจะได้กรดคาร์บามิก (สมการที่ 1) จากนั้นกรดคาร์บามิก
จะท�าปฏิกิริยาต่อเนื่องกับแอมโมเนียอีก 1 โมเลกุลได้ยูเรียกับน�้า (สมการที่ 2)
CO + NH H NCOOH (1)
3
2
2
H 2 NCOOH + NH 3 CO(NH ) + H O (2)
2
2 2
carbamylurea คำร์บำมิลยูเรีย : ดูค�าอธิบายใน biuret
carbohydrate คำร์โบไฮเดรต : สารอินทรีย์ประกอบด้วย 3 ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน
สูตรเคมีทั่วไป คือ C (H O) มีตั้งแต่สารโมเลกุลเล็กที่สุดเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์ ได้แก่ กลูโคส
n
2
n
โมเลกุลใหญ่ขึ้น คือ ไดแซ็กคาไรด์ ได้แก่ ซูโครส จนถึงสารที่มีโมเลกุลใหญ่เรียกว่าพอลิแซ็กคาไรด์
เช่น แป้งและเซลลูโลส โดยแป้งเป็นแหล่งพลังงานสะสมในอวัยวะต่าง ๆ ส่วนเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ
ที่ส�าคัญของผนังเซลล์
carbon คำร์บอน : มหธาตุสัญลักษณ์ C น�้าหนักอะตอม 12 เป็นองค์ประกอบของ CO ซึ่งพืชใช้เป็น
2
แหล่งคาร์บอนในกระบวนการสังเคราะห์แสง คาร์บอนเป็นองค์ประกอบของสารอินทรีย์ในสิ่งมีชีวิต
เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิพิด วิตามินและกรดนิวคลีอิก พืชมีธาตุนี้เป็นองค์ประกอบร้อยละ 45
ของน�้าหนักแห้ง คาร์บอนเป็นองค์ประกอบในปุ๋ยยูเรียและอินทรียวัตถุในดิน ส่วนเกลือคาร์บอเนต
และไบคาร์บอเนตในดินเป็นสารอนินทรีย์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ
carbon cycle วัฏจักรคำร์บอน : การหมุนเวียนของคาร์บอนจากสิ่งมีชีวิต คือ จุลินทรีย์ พืช และสัตว์
ไปสู่อากาศ แล้วกลับมายังสิ่งมีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง โดยเริ่มจากการตรึง CO จากอากาศของพืชโดย
2
กระบวนการสังเคราะห์แสง ได้มวลชีวภาพ ซึ่งผู้บริโภค (สัตว์และมนุษย์) ใช้เป็นอาหาร ต่อจากนั้น
ก็ปลดปล่อย CO ออกมาในกระบวนการหายใจ และการสลายของสารอินทรีย์ได้ CO ซึ่งกลับมา
2
2
สู่อากาศอีกครั้งหนึ่ง
86 40 ปี
สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย