Page 66 -
P. 66

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

              พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช




            arable land พื้นที่เพำะปลูก : พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ใช้ปลูกพืชได้เกือบตลอดปี อาจเว้นเฉพาะ
                  ช่วงที่สภาพอากาศไม่เหมาะสม ทั้งนี้ไม่รวมพื้นที่ซึ่ง (1) มีพืชยืนต้นและพืชธรรมชาติปกคลุมอย่าง
                  ถาวร และ (2) มีศักยภาพในการผลิตพืชแต่ยังไม่ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานส�าหรับการปลูกพืช
            arbuscul อำร์บัสคูล : โครงสร้างแลกเปลี่ยนอาหารของเชื้อราไมคอร์ไรซา ซึ่งสร้างในเซลล์ราก มีการ

                  แตกกิ่งก้านคล้ายรากไม้  เชื้อราใช้ส่วนนี้ในการส่งผ่านธาตุอาหาร  โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสฟอรัส
                  ไปให้เซลล์รากพืช ขณะเดียวกันก็รับซูโครสจากเซลล์รากพืชมาเป็นแหล่งพลังงาน
            aromatic อะโรมำติก : เกี่ยวกับสารที่มีวงแหวนเบนซีน หรือสารไฮโดรคาร์บอนซึ่งประกอบด้วยวงแหวน
                  ที่ไม่อิ่มตัว หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งวง เช่น เบนซีน (C H ) ซึ่งเป็นวงแหวนมีคาร์บอน 6 อะตอม
                                                           6 6
                  พันธะคู่ (double bond) จ�านวน 3 พันธะ (aroma, L: มีกลิ่นหอม)
            aromatic amino acid กรดอะมิโนอะโรแมติก : กรดอะมิโนที่มีโซ่ข้างเป็นวงแหวน เช่น ฟีนิลอาลานีน
                  (phenylalanine)  ไทโรซีน  (tyrosine)  และ  ทริปโตเฟน  (tryptophan)  ในการสังเคราะห์ใช้
                  เอนไซม์ที่ต้องการแมงกานีสเป็นโคแฟกเตอร์

            arsenic สำรหนู : ธาตุล�าดับที่ 33 สัญลักษณ์ As จัดเป็นธาตุพิษซึ่งอาจเจือปนอยู่ในหินฟอสเฟตจาก
                  บางแหล่ง  ในปริมาณเล็กน้อย  พบในผลิตภัณฑ์ปุ๋ยน้อยมาก  ปุ๋ยอินทรีย์ที่ขออนุญาตขึ้นทะเบียน
                  ต้องมีสารหนูไม่เกิน 50 มก./กก.
            artificial manure ปุ๋ยหมัก : ดูค�าอธิบายใน compost

            ascorbic acid กรดแอสคอร์บิก : ชื่อเคมีของวิตามินซี (vitamin C)
            ash เถ้ำ : สิ่งที่เหลือจากการเผาสารอินทรีย์ เถ้าจากการเผาซากพืชและเศษไม้ มีโพแทสเซียมค่อนข้าง
                  มาก (ดู fly ash ประกอบ)
            assimilation กำรใช้ประโยชน์ : กระบวนการที่สิ่งมีชีวิตเปลี่ยนสารอาหารซึ่งเซลล์ได้รับไปเป็นองค์ประกอบ

                  ในโมเลกุลสารอินทรีย์ในโพรโทพลาซึม เช่น การเปลี่ยนแอมโมเนียมไอออนที่รากดูดเข้ามาในเซลล์
                  ไปเป็นกรดอะมิโนส�าหรับสังเคราะห์โปรตีน
            assimilatory reduction กำรรีดิวซ์ก่อนใช้ประโยชน์ : กระบวนการที่เซลล์พืชน�าไนเทรตไอออนและ
                  ซัลเฟตไอออนที่ดูดมาได้ ไปรีดิวซ์ก่อนที่จะใช้ในการสังเคราะห์สารอินทรีย์ (ดู nitrate assimilation

                  และ sulfate assimilation ประกอบ)
            asymmetry อสมมำตร : โมเลกุลซึ่งอะตอมที่อยู่ตรงกลาง มีพันธะกับอะตอมหรือกลุ่มอะตอมทั้ง 4 ด้าน
                  ที่ไม่เหมือนกัน 4 อะตอม หรือ 4 กลุ่ม
            atmosphere  บรรยำกำศ  :  (1)  อากาศหรือแก๊สที่ปกคลุมผิวโลก  (2)  หน่วยความดันซึ่งเท่ากับ  760

                  มิลลิเมตรปรอท (mmHg) โดย 1 บรรยากาศ = 1.01325 bar และ 1 bar = 100,000 pascals
            atmospheric nitrogen ไนโตรเจนในบรรยำกำศ : ไนโตรเจนโมเลกุล (N , dinitrogen) ในอากาศ
                                                                         2
                  มีสถานะเป็นก๊าซ ความเข้มข้น 78%
            atmospheric nitrogen fixation กำรตรึงไนโตรเจนจำกบรรยำกำศ : การเปลี่ยนแปลงธาตุไนโตรเจน



               66       40 ปี
                        สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71