Page 68 -
P. 68

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

              พจนานุกรมศัพท์ปุ๋ยและธาตุอาหารพืช




            ATP  phosphohydrolase  เอทีพีฟอสโฟไฮโดรเลส  :  ชื่อเต็มของ  ATPase  เรียกว่า  adenosine
                  triphosphatase ก็ได้
            ATPase เอทีพีเอส : เอนไซม์ซึ่งเร่งปฏิกิริยาการแยกฟอสเฟตหมู่นอกสุดของ ATP เป็นปฏิกิริยาแยกสลาย
                  ด้วยน�้า ได้ ADP และฟอสเฟตไอออน ปฏิกิริยาสลาย ATP นี้เกิดควบคู่กับกระบวนการที่ต้องการ
                  พลังงาน และได้ปลดปล่อยพลังงานให้แก่กระบวนการนั้น เช่น การสูบโปรตอน (proton pumping)
                  แบ่งตามความแตกต่างด้านการเรียงตัวของหน่วยย่อย และกลไกการท�างานที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนขนส่ง
                  ได้เป็น  3  ประเภท  คือ  (1)  P-type  ATPase  อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์  (2)  V-type  ATPase  อยู่ที่
                  เยื่อหุ้มแวคิวโอล และ (3) F-type ATPase อยู่ที่เยื่อหุ้มของออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและ

                  คลอโรพลาสต์
            attapulgite clay ดินเหนียวแอตทำปุลไจต์ : แร่ดินเหนียวซึ่งมีแอนไฮดรัสแมกนีเซียม อะลูมิเนียมซิลิเกต
                  เป็นองค์ประกอบหลัก  ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ย  เช่น  เป็นวัสดุปรับสภาพปุ๋ยหรือสารป้องกัน
                  การจับตัวเป็นก้อนในการผลิตปุ๋ยเม็ด และใช้เป็นสารแขวนลอยในปุ๋ยเหลว
            attribute สมบัติจ�ำเพำะ : สมบัติของวัตถุต่าง ๆ โดยที่สมบัติดังกล่าวนี้เป็นสมบัติที่เราสนใจหรืออยู่ใน
                  โดเมน  (domain-ขอบเขต  วง)  ที่เราสนใจ  ค�าว่า  “ที่เราสนใจ”  เป็นการให้กรอบของสิ่งที่เรา
                  ต้องการพิจารณา ใช้ค�านี้ในต�าราคุณภาพดิน เช่น soil physical attributes แทนที่จะเขียนว่า

                  soil physical properties
            autogamy กำรผสมตัวเอง : การถ่ายเรณู (pollination) ของดอกหนึ่ง ด้วยเรณูของดอกนั้นเอง
                  (auto- G: ด้วยตัวเอง)
            autophilous plant พืชถ่ำยเรณูในต้นเดียวกัน : พืชที่มีการถ่ายเรณูของดอกในต้นหนึ่ง ด้วยเรณูของ
                  ดอกในต้นเดียวกัน (-phil, -philous, G: รัก, ความชอบ)
            autotrophs สิ่งมีชีวิตสร้ำงอำหำรเอง : สิ่งมีชีวิตที่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์หรือคาร์บอเนตเป็นแหล่ง
                  คาร์บอน ได้พลังงานมาจากการสังเคราะห์แสง เช่น พืชสีเขียวและสาหร่ายสีเขียวแกมน�้าเงิน หรือ
                  การออกซิไดส์ธาตุหรือสารประกอบ เช่น เหล็ก ก�ามะถัน และแอมโมเนียม (-troph, L: อาหาร)
                  (เปรียบเทียบความหมายกับ heterotrophs)

            auxin  ออกซิน  :  สารเร่งการเจริญเติบโตของพืชกลุ่มหนึ่ง  มีบทบาทในการขยายขนาดเซลล์  การเกิด
                  รากของกิ่งตัดช�า  การออกดอก  การติดผล  และการเจริญเติบโตของผล  สารในกลุ่มนี้  ได้แก่
                  indoleacetic acid (IAA), indolebutyric acid (IBA) และ naphthaleneacetic acid (NAA)
                  ออกซินมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในวงแหวนอินโดล  ธาตุสังกะสีมีบทบาทในการสังเคราะห์
                  สารตั้งต้น ส่วนธาตุเหล็กและแมงกานีสเกี่ยวข้องกับการควบคุมกิจกรรมของออกซิน
            available  ใช้ประโยชน์ได้  :  คุณศัพท์ใช้ขยายธาตุอาหารพืช  เช่น  available  potassium  แปลว่า
                  โพแทสเซียมใช้ประโยชน์ได้ ความเป็นประโยชน์ของแต่ละธาตุในปุ๋ยและในดิน แสดงด้วยปริมาณ

                  ธาตุอาหารในตัวอย่าง ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีมาตรฐาน
            available nutrient สำรอำหำรใช้ประโยชน์ได้ : ธาตุอาหารในดินซึ่งพืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้ มี 2 รูป
                  คือ ไอออนในสารละลายดินและไอออนที่แลกเปลี่ยนได้


               68       40 ปี
                        สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73