Page 26 -
P. 26
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.2 วัตถุประสงค์ในการศึกษา
1. เพื่อศึกษาการจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศเกษตรของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ศึกษา
2. เพื่อศึกษานโยบายของภาครัฐในการจัดการพื้นที่ทับซ้อนกรณีพื้นที่บ้านกลาง อําเภอแม่
เมาะ จังหวัดลําปาง
3. เพื่อศึกษาผลของการจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศเกษตรภายใต้บริบทของรัฐและชาว
กะเหรี่ยงในพื้นที่สูงบ้านกลางที่ส่งผลต่อความยั่งยืนโดยพิจารณาถึงความสอดคล้องตาม
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
4. เพื่อศึกษาแนวทางสําหรับการจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศเกษตรอย่างยั่งยืนภายใต้
บริบทของรัฐและชาวกะเหรี่ยงบ้านกลาง
1.3 ขอบเขตการศึกษา
ขอบเขตเนื้อหา
1. การจัดการทรัพยากรและระบบนิเวศโดยศึกษาจากวิธีคิดและมุมมองของกะเหรี่ยงบนพื้นที่
สูงต่อการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ระบบกรรมสิทธิ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการทรัพยากร
อาทิ รูปแบบ/ กรรมสิทธิ์ การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบริการบนพื้นที่สูง การทํา
การเกษตรบนพื้นที่สูงและการอนุรักษ์เป็นการศึกษาเพื่อตอบคําถามว่าวิถีชีวิตและการผลิต
ของชาวกะเหรี่ยงเป็นอย่างไร การจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรและเศรษฐกิจเพื่อการ
ดํารงอยู่นั้นสอดคล้องกับวิถีแห่งความยั่งยืนหรือไม่ และแนวทางในอนาคตสําหรับการ
จัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรจะมีการเปลี่ยนแปลงไหมจากการประกาศเขตอุทยาน
แห่งชาติถํ้าผาไท
2. การศึกษานโยบายภาครัฐ แนวคิดการจัดการทรัพยากรบนพื้นที่สูงของรัฐไทย รวมถึง
นโยบายในการจัดการพื้นที่สูงซึ่งประกอบด้วย กรรมสิทธิ์ การใช้ประโยชน์และการ
อนุรักษ์ รวมถึงการศึกษาเงื่อนไข เหตุผลในการประกาศยกระดับพื้นที่อุทยาน
3. การศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากรัฐที่มีต่อชุมชนในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ทิศทางการ
จัดการทรัพยากรอันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน จะทําการวิเคราะห์ถึง
ผลของการปฏิบัติการและกลไกปฏิบัติการดัง ที่ได้กล่าวมาว่านําไปสู่ความยั่งยืนอย่าง
6