Page 30 -
P. 30
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2) การควบคุมกลไกของระบบนิเวศ (Regulating services) เป็นบริการหรือประโยชน์ที่เกิด
จากการทําหน้าที่ของระบบนิเวศ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพอากาศ การควบคุมโรคแมลงศัตรูพืช การผสม
เกสร การกรองนํ้าและการบําบัดนํ้าเสีย การรักษาสมดุลของระบบนํ้า การพังทลายของดินและสภาพ
ภูมิอากาศ จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าเป็นมูลค่าของระบบนิเวศที่เกิดจาการใช้ประโยชน์ทางอ้อม
(Indirect use value) และพิจารณาถึงมูลค่าเผื่อใช้ (option value) หรือมูลค่าที่เกิดจากการสงวนไว้ใช้
ในอนาคต
3) การบริการด้านวัฒนธรรม (Cultural services) เป็นการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศ
ทางด้านนันทนาการ ท่องเที่ยว คุณค่าทางการศึกษา จิตวิญญาณ ศาสนา ความเชื่อ คุณค่าทางจิตใจ
ซึ่งก่อให้เกิดมูลค่าจากการใช้ประโยชน์โดยตรงและมูลค่าเผื่อใช้
4) บริการด้านการสนับสนุนและคํ้าจุน (Supporting services) เพื่อให้เกิดบริการอื่น ๆ ที่กล่าว
มาแล้ว ไม่ว่าวัฏจักรสารอาหารต่าง ๆ วัฎจักรนํ้า และความหลากหลายทางชีวภาพ
ระดับของการให้บริการจะถูกกําหนดจากการการผสมรวมกันระหว่างคุณสมบัติของระบบ
นิเวศรวมถึง ชนิดดิน พืชและสภาพภูมิอากาศกลายเป็นขบวนการทางนิเวศที่เกิดขึ้น (Fisher et al.,
2009)จะเห็นได้ว่าบริการของระบบนิเวศอาจจะเป็นประโยชน์ทางตรงหรือประโยชน์ทางอ้อมจาก
การทําหน้าที่ของระบบนิเวศ Costanza et al. (1997) กล่าวได้ว่าบริการของระบบนิเวศเป็นตัวการ
สําคัญในการเชื่อมโยงสวัสดิการของมนุษย์กับหน้าที่ของระบบนิเวศนั่นเอง และยังเป็นการกําหนด
ทิศทางสวัสดิการของมนุษย์อีกด้วยหากระบบนิเวศมีความสมบูรณ์และทําหน้าที่ได้อย่างเต็ม
ประสิทธิภาพแล้วคุณภาพชีวิตของมนุษย์ก็จักดีตามไปด้วย ดังนั้นในการจัดการต้นทุนทาง
ทรัพยากรอย่างยั่งยืนนั้นต้องให้ความสําคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการให้บริการของ
ระบบนิเวศ
พื้นที่การเกษตรเป็นพื้นที่ที่สร้างประโยชน์ทางตรงให้กับมนุษย์โดยการผลิตอาหาร เส้นใย
ไม้ อาหารสัตว์ ยารักษาโรค เป็นต้น IPCC (2000) โดยการเกษตรจะต้องบรรลุเป้าหมายทั้งความ
มั่นคงทางอาหารและความมั่นคงของสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน (Food and Agriculture
Organization of the United Nations, 2016) ในขณะที่ภาคการเกษตรเป็นภาคส่วนของระบบ
เศรษฐกิจที่ต้องอิงอาศัยระบบนิเวศเป็นต้นทุนในการดําเนินกิจกรรม ระบบนิเวศเกษตรจะแตกต่าง
กันไปในแต่ละพื้นที่ขึ้นกับชนิดดิน ปริมาณนํ้า สภาพอากาศ การบริการของระบบนิเวศมี
ความสําคัญต่อการทําการเกษตรเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะสําหรับเกษตรกรรายย่อยที่มีข้อจํากัด
ทางด้านงบประมาณเมื่อเทียบกับเกษตรกรรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเกษตร จะเห็นได้ว่าเกษตรราย
10