Page 25 -
P. 25
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน พบว่าประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่ามี
ค่อนข้างสูง รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในการลดลงของสัตว์ป่าสงวนอีกด้วย
จากภาพกว้างในมิติการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับชาติที่ได้กล่าวมานี้ ผู้วิจัยมีความสนใจใน
การศึกษาถึงวิถีการพัฒนาตามกรอบแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนแห่งชาติที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติที่รัฐไทยได้นํามาจัดวางเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนานั้น
ส่งผลอย่างไรในระดับบริบทเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะในกรณีของการจัดการทรัพยากรบนพื้นที่ที่มี
ข้อจํากัดหลายประการทั้งในเรื่องของรัฐกับการจัดการพื้นที่ป่าในความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์
รวมทั้ง ภาวะของเงื่อนไขความเป็นพื้นที่สูงในการจัดการทรัพยากรและการเกษตรอย่างยั่งยืน โดย
ได้เลือกเอาศึกษากรณีของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านกลางจากการพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะของพื้นที่
ศึกษาดัง ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้
ความน่าสนใจของงานวิจัยนี้คือไม่ใช่การเฉพาะศึกษาเฉพาะนโยบายภาครัฐหรือวิถีชีวิตการ
ผลิตของชุมชนเพียงด้านใดอย่างหนึ่งเท่านั้นแต่เป็นการศึกษาความยั่งยืนที่ผ่านการตีความจาก
ภาครัฐและชุมชนเพื่อสะท้อนภาพทั้งระบบภายใต้กระแสความกดดันของนานาชาติที่ว่าด้วยการ
พัฒนาอย่างยั่งยืนโดยพื้นที่ที่เลือกเป็นกรณีศึกษานั้นเป็นตัวแบบของชุมชนที่อยู่อาศัยกับป่าซึ่งได้รับ
รางวัลลูกโลกสีเขียว ในปี 2550 และยังเป็นชุมชนที่สามารถยกเลิกการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่าง
ข้าวโพดได้ ในการทําการเกษตรของชุมชนบนที่สูงนั้นจะมีการพึ่งพิงระบบนิเวศธรรมชาติเป็นหลัก
ดังนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนจึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่ออุทยานแห่งชาติถํ้า
ผาไทและชุมชนบ้านกลาง เพราะการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมีความสัมพันธ์กับระบบการผลิต
ทางการเกษตร ระบบเศรษฐกิจของครัวเรือน ความเชื่อและจิตวิญญาณของชุมชนและท้ายสุดอาจจะ
เกิดความร่วมมือในการจัดการป่าให้ยั่งยืนระหว่างรัฐและชุมชนต่อไป
1.1 คําถามในการวิจัย
แนวทางในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนของรัฐไทยกับชาวกะเหรี่ยง เป็นไปในทิศทางที่
สอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และส่งผลต่อการจัดการในพื้นที่อย่างไร (การขยายขอบเขต
กรรมสิทธิ์ รูปแบบการใช้ประโยชน์)
5