Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว










                                                                                   สัญญาเลขที่ RDG6220031


                                                         บทที่ 1 บทนํา



                       1.1 ความเป็นมา



                            ภาคเหนือของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นพหุสังคม  ความหลากหลายทางชาติพันธุ์

                       อาทิเช่น กลุ่มตระกูลมอญ  ลัวะ ละว้า หรือกลุ่มตระกูลชวา-มลายู กะเหรี่ยง ลาหู่ เป็นต้น กลุ่มชาติ
                       พันธุ์เหล่านี้ส่วนมากได้จับจองและตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สูง   ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสําคัญต่อระบบ

                       นิเวศและการให้บริการของระบบนิเวศ  (Ecosystem services)  ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม

                       อาทิ  เป็นพื้นที่ป่าต้นนํ้า  การให้บริการทางอาหาร  ของป่า  เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร  แต่ละ
                       ชาติพันธุ์ก็มีขนบธรรมเนียมประเพณีและเอกลักษณ์  รวมถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ  และ

                       การเกษตรที่แตกต่างกัน


                            บ้านกลาง เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวกะเหรี่ยง (กระเหรี่ยงโปว์) เกือบสามร้อยคนมากว่าสามร้อยปี

                       มาแล้ว พื้นที่บ้านกลางตั้งอยู่ในตําบลบ้านดง อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปางซึ่งเป็นเขตติดต่อระหว่าง

                       อําเภองาวและอําเภอแม่เมาะ (ภาพที่ 1) พื้นที่เขาหินปูนและป่าเบญพรรณ ที่แวดล้อมไปด้วยภูเขาที่
                       อุดมสมบูรณ์ถึงเจ็ดลูก และเป็นต้นนํ้าของแม่นํ้าสายเล็กสายน้อยถึง 17 สาย กลายเป็นต้นกําเนิดของ

                       ลุ่มนํ้ายม


                            วิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงบ้านกลางมีความสัมพันธ์และอิงอาศัยระบบนิเวศบริการ(ecosystem

                       services)  เป็นอย่างมาก  เพราะอาศัยผืนป่าเป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้โดยตรงไม่ว่าจะเป็น

                       นํ้าผึ้ง หน่อไม้ หรือมะแขว่น นอกเหนือไปจากการการทําไร่หมุนเวียนบนพื้นที่เขา นาขั้นบันไดบน
                       พื้นที่ราบลุ่ม และการเลี้ยงวัว พื้นที่ป่ากว่า 18,000 ไร่ ที่ชาวกะเหรี่ยงกลุ่มนี้ได้ใช้ประโยชน์และดูแล

                       โดยมีการตั้งคณะกรรมการจัดการที่ดินและป่าชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน และการใช้ฉันทามติใน

                       การทําข้อตกลงกฎระเบียบต่าง  ๆในการใช้ทรัพยากรส่วนกลางร่วมกันโดยเฉพาะการใช้พื้นที่หน้า
                       หมู่ (ทรัพย์สินส่วนกลาง common property) บนพื้นที่กว่า 18,000 ไร่ ได้ถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่เพื่อ

                       วัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน โดยพื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ เป็นบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย

                       พื้นที่นาที่ราบลุ่มเขา  และพื้นที่ทําไร่หมุนเวียน  โดยในการใช้ประโยชน์จริงในแต่ละปีมิได้ใช้พื้นที่
                       ทั้งหมด     เนื่องจากระบบการทําไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงบ้านกลางจะทิ้งพื้นที่ไร่ให้ฟื้นตัว

                       ประมาณห้าปี ก่อนที่จะวนกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง ที่น่าสนใจไปกว่านั้นพื้นที่ไร่หมุนเวียนเป็น

                       กรรมสิทธิ์ส่วนกลางของคนในหมู่บ้านที่จะมีการจัดสรรการใช้ประโยชน์ร่วมกัน  อาทิ  การจัดสรร

                                                                1
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26