Page 24 -
P. 24
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ร่วมกันในวิถีใด ซึ่งจะเป็นการสะท้อนและการสร้างความเข้าใจความหลากหลายในการจัดการ
ทรัพยากรบนฐานความคิด ความเชื่อของชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน กระบวนการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่การเกษตรและวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงจะเป็นไปในทิศทางที่ช่วย
ส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนหรือไม่ อย่างไร
ทั้งนี้ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในกรอบสากลที่ว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ของสหประชาชาติ (sustainable development goals – SDGs) ที่มีกรอบแนวคิดในการมองการ
พัฒนาแบบรอบด้าน โดยเฉพาะการกําหนดให้มีมิติของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อมที่มีความเชื่อมโยงกัน (ไทยพับลิก้า, 2561) เพื่อนําไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งต่อ
สังคมมนุษย์และระบบนิเวศ ในการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกและเข้าร่วมเป็นภาคีใน
ข้อตกลงดังกล่าว ประเทศไทยได้รับเอาแนวทางการพัฒนาดังกล่าวเข้ามากําหนดเป็นส่วนหนึ่งของ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศโดยมีการกําหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 65 ว่าด้วยการ
กําหนดให้รัฐจัดทํายุทธศาสตร์โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ราชกิจจานุเบกษา,
2560a) การจัดทําแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
(ไทยพับลิก้า, 2561) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยอาศัยการขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย
เพื่อเป็นกรอบในการดําเนินการด้านการพัฒนาแห่งชาติให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาสากล
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีข้อกําจัดหลายประการในการดําเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย
การพัฒนาอย่างยั่งยืน แม้ประเทศไทยได้พยายามผลักดันในเชิงนโยบายภาพกว้างดัง ที่กล่าวมา
ข้างต้น แต่ก็ยังมีอีกหลายเป้าหมายที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วนเมื่อพิจารณาจากดัชนีใน
ปี 2560 อาทิ การขจัดความหิวโหยตามเป้าหมายที่ 2 ซึ่งครอบคลุมเรื่องความมั่นคงทางอาหารและ
การเกษตรอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัดที่สําคัญของการขจัดความหิวโหยที่ประเทศไทยยังต้องจัดการอย่าง
รีบด่วนนอกจากปัญหาความแคระแกร็นของเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี คือการจัดการไนโตรเจนในภาค
การเกษตรอย่างยั่งยืนจากการใช้สารเคมีอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยได้คะแนนเพียง 0.9 ใน
ประเด็นนี้ ในการผลิตของไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ระดับ 8.4 กิโลกรัม/คน/ปี (เสถียร
ฉันทะและคณะ, 2560) นอกจากนั้นยังมีเป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศไทยคือ เรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (4.6 ตัน/คน/ปี) ที่
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และดัชนีความเปราะบางต่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ ภัย
พิบัติ การเพิ่มขึ้นของระดับนํ้าทะเล และการสูญเสียผลผลิตด้านการเกษตร ฯลฯ โดยเป็นดัชนีที่
ประเทศไทยอยู่ในช่วงวิกฤติ (0.2 คะแนน) ซึ่งเป้าหมายนี้ก็มีความสัมพันธ์กับเป้าหมายที่ 15 การใช้
4