Page 27 -
P. 27

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว










                              แท้จริงหรือไม่ ทั้งในกระบวนการของการยอมรับร่วมกันต่อความยั่งยืนระหว่างรัฐกับ

                              ชุมชน


                       ขอบเขตพื้นที่และประชากรในการศึกษา


                              ศึกษาชุมชนกะเหรี่ยงบ้านกลาง อ.แม่เมาะ จ.ลําปาง


                       ขอบเขตเวลา


                              ในการศึกษานี้กําหนดช่วงเวลาในการศึกษาบริบทและนโยบายที่จะส่งผลต่อการจัดการ

                       ทรัพยากรในพื้นที่บ้านกลางภายหลังกรมป่าไม้ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติถํ้าผาไทปี พ.ศ. 2534 ซึ่ง

                       ภายหลังการประกาศเขตพื้นที่อุทยานดังกล่าวก็จะต้องมีการเตรียมการประกาศเป็นพื้นที่อุทยานซึ่ง
                       อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดการทรัพยากรและการทําการเกษตร รวมถึงปัญหาในเรื่องสิทธิ

                       ของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่  อาทิ    การกําหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ของชุมชนดั้งเดิม  โดยใน

                       งานวิจัยนี้จะทําการศึกษาด้วยว่าจะเกิดการเปลี่ยนขึ้นในอนาคตโดยในแบบสอบถามจะมีการถามถึง

                       แนวทางในการจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรในอนาคตจากนโยบายการกําหนดขอบเขตพื้นที่การ
                       ใช้ประโยชน์อันเนื่องมาจากการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ



                       1.4 กรอบแนวคิด


                              งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการจัดการทรัพยากรในมุมมองของภาครัฐและของชุมชนชาว

                       กะเหรี่ยงที่อยู่อาศัยในหมู่บ้านกลาง อ.แม่เมาะ จ.ลําปาง โดยการศึกษาแนวคิดของรัฐไทยในการ

                       จัดการทรัพยากรบนเขตพื้นที่สูง และเขตพื้นที่ป่าภายใต้สิทธิการดูแลของรัฐ (State property) อาทิ
                       นโยบายการประกาศเขตพื้นที่การใช้ประโยชน์ของชุมชน นโยบายการทวงคืนผืนป่า รวมทั้ง

                       นโยบายที่เกี่ยวเนื่องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และการทําการเกษตร โดยนโยบายของรัฐ

                       พยายามที่จะรักษาพื้นที่ป่ าและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพนั้น ส่วนหนึ่งเป็นการ

                       ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นนโยบายแบบบนลงล่าง
                       (Top down policy) ดังนั้นในการศึกษาเพื่ออธิบายถึงความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรของพื้นที่

                       ภายใต้บริบทของความเกี่ยวข้องกันในระบบนิเวศระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงจะศึกษา

                       การจัดการทรัพยากรของชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นกลุ่มคนในพื้นที่ว่าภายใต้กรอบการจัดวางอํานาจการ
                       จัดการทรัพยากรโดยรัฐนั้น ชาวกะเหรี่ยงมีวิถีของการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนภายใต้เงื่อนไข

                       เหล่านี้อย่างไร ชุมชนมีกติกาในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศบริการป่าไม้ด้านต่าง ๆ



                                                                7
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32