Page 83 -
P. 83
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 3
สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19
(3) อ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่
สถานภาพแนวปะการังบริเวณอ่าวมาหยา เขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา – หมู่เกาะพีพี
จากการสำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2560 - 2563 พบว่าสภาพแนวปะการังมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ในทางที่ดีขึ้นจากเดิมที่มีสภาพเสื่อมโทรมมากเปลี่ยนแปลงเป็นเสื่อมโทรม ดังตารางที่ 3.19
(4) เกาะรอก จังหวัดกระบี่
สถานภาพแนวปะการังในพื้นที่บริเวณอ่าวหินงาม เกาะรอก เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
จากการสำรวจระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2563 พบว่าสภาพแนวปะการังอยู่ในระดับสมบูรณ์ดี ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2562 เป็นต้นมา และสำรวจล่าสุด ปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา แนวปะการังยังคงอยู่ในระดับสมบูรณ์ดี
ไม่เปลี่ยนแปลง ดังตารางที่ 3.19
ตารางที่ 3.19 สถานภาพแนวปะการังในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2560 – 2563
สถานภาพปะการัง
สถานที่ อุทยานแห่งชาติ
2560 2561 2562 2563
หมู่เกาะห้อง ธารโบกขรณี สมบูรณ์ดีมาก สมบูรณ์ดีมาก สมบูรณ์ดีมาก ยังไม่ได้ข้อมูล
หาดนพรัตน์ธารา-
อ่าวมาหยา เสื่อมโทรมมาก เสื่อมโทรมมาก เสื่อมโทรม เสื่อมโทรม
หมู่เกาะพีพี
อ่าวหินงาม เกาะรอก หมู่เกาะลันตา ไม่ได้สำรวจ สมบูรณ์ดี สมบูรณ์ดี
ที่มา: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (2563)
(5) เกาะลิบง จังหวัดตรัง
พื้นที่เกาะลิบงมีแนวปะการังก่อตัวอยู่บริเวณรอบ ๆ เกาะ ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก มีพื้นที่แนว
ปะการัง ทั้งสิ้นประมาณ 2.38 ตารางกิโลเมตร สภาพแนวปะการังภายในพื้นที่เกาะลิบงส่วนใหญ่อยู่ใน
สภาพเสื่อมโทรมถึงร้อยละ 82.90 ของแนวปะการังทั้งหมด โดยส่วนใหญ่จะพบแนวปะการังแข็งเกือบ
ทุกชนิดตลอดแนวทางด้านตะวันตกของเกาะ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับความเสียหายจากการระเบิดปลา บริเวณ
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะมีแนวปะการังที่กำลังเติบโตทดแทนแนวปะการังเดิมที่ถูกทำลายไป ปะการัง
แข็งที่พบในแถบนี้ ได้แก่ ปะการังตาข่าย ปะการังดอกไม้ ปะการังก้อนรูปสมอง ปะการังพุ่มไม้ และ
ปะการังเขากวาง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบดอกไม้ทะเลครกและฟองน้ำเคลือบหินอยู่ประปราย ส่วนสัตว์
ทะเลที่พบชุกชุมในแถบปะการัง ได้แก่ ปลิงดำ หอยเม่น กุ้งดีดนักกล้าม ปูปินสองสี ปูใบ้ลายม่วง เป็นต้น
การสำรวจระบบนิเวศแนวปะการังในบริเวณเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ในช่วงเดือน
กันยายน ปี พ.ศ. 2561 แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ ได้แก่ สถานีที่ 1 ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะลิบง
5
และสถานีที่ 2 ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะลิบง (ดังรูปที่ 3.15) ผลการสำรวจสถานภาพแนว
ปะการังในแต่ละสถานี มีรายละเอียดดังนี้
5 ทรัพยากรปะการังในบริเวณเกาะลิบง มีข้อมูลเพียงปีเดียว คือ ปี พ.ศ. 2561 ที่มีเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 59