Page 80 -
P. 80
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ มีการรายงานปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงของสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์
ในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ดังนี้
เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2563 เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการทาง
ทะเลที่ 3 ตรัง สำรวจติดตามประเมินสถานภาพพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก โดยการเฝ้าสังเกตทางเรือ
และการบิน Drone สำรวจ ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมและพื้นที่เชื่อมโยง (เขตห้ามล่าสัตว์ป่า
หมู่เกาะลิบง) ได้แก่ บริเวณหาดยาว บริเวณแหล่งหญ้าทะเลหาดมดตะนอย และแหลมจูโหย เกาะลิบง
พบว่าเบื้องต้นบริเวณแหลมจูโหย เกาะลิบง ใกล้ที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง พบฝูงพะยูน
จำนวน 30 ตัว และเต่าทะเลจำนวน 2 ตัว บริเวณหาดมดตะนอย พบพะยูน จำนวน 1 ตัว และเต่าทะเล
จำนวน 2 ตัว ส่วนบริเวณหาดยาว พบโลมา จำนวน 2 ตัว โดยพะยูนที่พบบริเวณแหลมจูโหยมีพฤติกรรม
รวมฝูงในการออกหากินหญ้าทะเล ขณะที่พะยูนที่พบบริเวณหาดมดตะนอยออกหากินตามลำพัง ส่วนเต่า
ทะเลและโลมามีพฤติกรรมว่ายน้ำและโผล่ขึ้นมาหายใจ และ
เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงร่วมกับชุดลาดตระเวน
เชิงคุณภาพ (Smart Patrol) ได้ออกตรวจลาดตระเวนเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย ขณะลาดตระเวนถึงบริเวณ
ระหว่างสะพานช้างกับแนวทุ่น (เขตอภัยทาน) ทางทิศตะวันตกซึ่งอยู่ห่างจากสำนักงานเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
หมู่เกาะลิบง (แหลมจูโหย) ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 1 กิโลเมตร พิกัดที่ E 0546840 N 0804083
เจ้าหน้าที่ได้เห็นปลาโลมารวมตัวเป็นฝูงใหญ่ ฝูงละประมาณ 20 กว่าตัว ประมาณ 3 - 4 ฝูง บางฝูงก็มีลูก
ว่ายติดอยู่กับแม่ รวมทั้งหมดประมาณ 80 กว่าตัว
ปรากฏการณ์ดังกล่าวบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวหรือบุคคลต่าง ๆ เข้าไปรบกวนบริเวณพื้นที่ดังกล่าว เจ้าหน้าที่จึงได้
ถ่ายภาพพร้อมทั้งถ่ายคลิปวิดีโอ และโลมาฝูงดังกล่าวก็ได้ว่ายน้ำออกไป ชุดสมาร์ท ( Smart Patrol) ก็ได้
เดินทางลาดตระเวนต่อไป ไม่พบเครื่องมือประมงที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลหายากแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่
จึงได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นเดินเท้าที่ พิกัด E 0544743 N 0802846 จากการลาดตระเวนโดยการเดินปรากฏ
ว่าไม่พบการกระทำความผิดแต่อย่างใด
3.3.2 ปะการัง
แนวปะการังเป็นระบบนิเวศทางทะเลและทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญ นอกเหนือจากแหล่งหญ้า
ทะเล ป่าชายเลน หาดหิน และหาดทราย แนวปะการังมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูงทั้งในแง่ของชนิด
และปริมาณ เป็นแหล่งอาศัย หลบภัย หากิน วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์น้ำนานาชนิด นอกจาก
ความสำคัญด้านนิเวศวิทยาแล้ว แนวปะการังยังเป็นแหล่งอาหารและรายได้แก่ชุมชน รวมทั้งมีความสำคัญ
ในแง่ของความผูกพันระหว่างระบบนิเวศกับวิถีชุมชนในพื้นที่ชายฝั่ง ตลอดจนความสำคัญด้านเศรษฐกิจ
ระดับประเทศ เช่น ด้านการประมง และด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แนวปะการังในประเทศไทย
ประกอบด้วยโครงสร้างหินปูนที่เกิดจากการสร้างของปะการัง มีประมาณ 280 ชนิด จาก 18 วงศ์ 71 สกุล
56 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย