Page 82 -
P. 82

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
                โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน




               รูปที่ 3.14  ค่าร้อยละการครอบคลุมพื้นที่ของปะการังมีชีวิตในพื้นที่อ่าวป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
























               ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2563)

                       จากการติดตามการเปลี่ยนแปลงของแนวปะการังในพื้นที่อ่าวป่าตองด้านเหนือและด้านใต้ พบว่า
               สถานภาพแนวปะการังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อดูรายละเอียดด้านปะการังที่มีชีวิต พบว่ามี

               แนวโน้มการฟื้นตัวตามธรรมชาติที่ดีขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้ ปะการังยังมีความสามารถในการฟื้นตัวเองตาม
               ธรรมชาติได้ ถ้าหากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม เช่น การผูกทุ่นเพื่อลดการทิ้งสมอ การกวดขันบังคับ

               ใช้กฎหมาย การให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกผู้ใช้ประโยชน์จากแนวปะการัง รวมทั้งการกำหนดเขตการใช้
               ประโยชน์จากแนวปะการัง แนวปะการังบริเวณดังกล่าวก็จะสามารถฟื้นตัวและมีสถานภาพที่ดีขึ้นอย่าง
               ต่อเนื่องในอนาคตได้


                       ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า การฟื้นตัวของแนวปะการังหลังจาก
               เดือนเมษายนเป็นต้นมา ยังเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่เห็นชัดเจนมากนักเพราะปะการังต้องใช้ระยะเวลานาน
               ในการเจริญเติบโต การฟื้นตัวที่เห็นชัดคือ หนึ่ง ไม่มีสิ่งรบกวนปะการัง และ สอง การพบสัตว์น้ำเข้ามา

               ในแนวปะการังหรือบริเวณใกล้ชายหาดมากขึ้น อาจจะเป็นผลมาจากไม่มีการรบกวนการวิ่งของเรือและ
               นักดำน้ำทำให้มีสัตว์น้ำอย่างเช่น ฝูงปลาเล็ก ๆ เพิ่มมากขึ้น ที่สำคัญคือขยะที่อยู่ในแนวปะการังไม่ว่าจะมา
               จากการประมงหรือการท่องเที่ยวโดยเฉพาะจากการท่องเที่ยวลดน้อยลงอย่างเห็นชัดเจน ส่วนการฟอกขาว

               ของปะการังช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนจะมีการฟอกขาวของปะการัง แต่มีปัจจัยผลกระทบด้านมลพิษ
               ที่จะไปกระตุ้นลดน้อยลง ทำให้การฟื้นตัวของปะการังจากการฟอกขาวดีขึ้นถึงแม้ว่าอุณหภูมิน้ำทะเลยังคง
               สูงอยู่


                      (2)  เกาะห้อง จังหวัดกระบี่

                       สถานภาพแนวปะการังในหมู่เกาะห้อง เขตอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี จากการสำรวจระหว่าง
               ปี พ.ศ. 2560 - 2563 พบว่าสภาพแนวปะการังอยู่ในระดับสมบูรณ์ดีมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา

               เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสภาพแนวปะการังในช่วงที่ผ่านมายังคงอยู่ในระดับสมบูรณ์ดีมาก ดังตาราง
               ที่ 3.19



                 58    สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87