Page 86 -
P. 86
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
สถานที่ 2 : สถานภาพแนวปะการังบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะลิบง
ผลการสำรวจสถานภาพปะการังบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะลิบง พบว่า ลักษณะ
แนวปะการังโดยทั่วไปเป็นแนวปะการังน้ำตื้น พบปะการังมีชีวิตร้อยละ 1.60±0.62 (ค่าเฉลี่ย +S.E.)
ต่อปะการังตายร้อยละ 25.91±8.87 ส่วนสถานภาพของปะการังอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก ซึ่งบริเวณ
ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีโขดหินสลับกับพื้นทราย และมีสาหร่ายและหญ้าทะเลปกคลุมหนาแน่น
ดังนั้น พื้นที่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนืออาจจะไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปะการัง
จากการสำรวจพบปะการังที่สามารถจำแนกชนิดได้ จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ ปะการังโขด (Porites
sp.) ซึ่งเป็นชนิดที่มีร้อยละการปกคลุมมากที่สุดและเป็นชนิดเด่นของพื้นที่ รองลงมาคือ ปะการังวงแหวน
(Favia sp.) ปะการังช่องเหลี่ยม (Favites sp.) ปะการังเขากวาง (Acropora sp.) ปะการังหินสมอง
(Montastraea sp.) ปะการังเคลือบหนาม (Echinophyllia sp.) และปะการังหินอ่อน (Gardineroseris
sp.) ตามลำดับ
ส่วนสถานภาพของปะการังวัยอ่อน (ขนาดโคโลนีน้อยกว่าเซนติเมตร) ใน 5 บริเวณด้าน
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะลิบง พบปะการังที่สามารถจำแนกชนิดได้ จำนวน 6 ชนิด โดยชนิดที่พบ
เรียงตามจำนวนโคโลนี ได้แก่ ปะการังช่องเหลี่ยม (Favitea sp.) รองลงมาคือ ปะการังวงแหวน (Favia sp.)
ปะการังเขากวาง (Acropora sp.) ปะการังดอกไม้ทะเล (Goniopora sp.) ปะการังสมองร่องสั้น (Platygyra
sp.) และปะการังโขด (Porites sp.) ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3.21)
ตารางที่ 3.21 ชนิดและจำนวนปะการังวัยอ่อนบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะลิบง
ปี พ.ศ. 2561
จำนวนโคโลนี (cm)
Species list รวม
<1 cm 1-3 cm >3-5 cm
Acropora sp. 3 3
Favia sp. 5 10 15
Favitea sp. 4 8 4 16
Goniopora sp. 1 1
Platygyra sp. 1 1
Porites sp. 1 1
รวม 4 13 20 37
ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2563)
62 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย