Page 88 -
P. 88
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
รูปที่ 3.16 แหล่งหญ้าทะเลเกาะลิบงและบริเวณใกล้เคียง จังหวัดตรัง ปี พ.ศ. 2562
ที่มา: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2563)
(2) สถานภาพทรัพยากรหญ้าทะเลบริเวณเกาะลิบง ปี พ.ศ. 2560 - 2563
สถานภาพทรัพยากรหญ้าทะเลบริเวณเกาะลิบง ในปี พ.ศ. 2560 - 2563 จากการสำรวจและ
ติดตามสถานภาพหญ้าทะเลบริเวณเกาะลิบงและบริเวณใกล้เคียง พบว่าบริเวณทิศเหนือของเกาะลิบง
อ่าวทุ่งจีน เกาะนก แหลมพระม่วง และปากคลองเจ้าไหม ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ครอบคลุม
แหล่งหญ้าทะเล ประมาณ 19,751 ไร่ หรือร้อยละ 59.7 ของพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งหญ้าทะเลทั้งหมด
ของจังหวัดตรัง ผลการสำรวจพบพื้นที่หญ้าทะเล รวม 15,531 ไร่ ทั้งหมด 12 ชนิด ได้แก่ หญ้ากุยช่ายเข็ม
หญ้ากุยช่ายทะเล หญ้าคาทะเล หญ้าเงาใบเล็ก หญ้าเงาใบใหญ่ หญ้าเงาใส หญ้าชะเงาเต่า หญ้าชะเงาใบ
ฟันเลื่อย หญ้าชะเงาใบมน หญ้าใบพาย หญ้าใบมะกรูด และหญ้าต้นหอมทะเล ซึ่งแหล่งหญ้าทะเลเหล่านี้
ถือเป็นที่รวมของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตั้งแต่วัยอ่อนไปจนโตเต็มวัยซึ่ง
ครบวงจรของห่วงโซ่อาหาร ชาวประมงที่อาศัยอยู่ริมทะเลเป็นกลุ่มประชากรที่รู้จักและเห็นความสำคัญ
ของหญ้าทะเลเพราะเป็นแหล่งทำมาหากินจากการจับสัตว์น้ำ ซึ่งมีกุ้ง หอย ปู ปลา เพื่อใช้ในการบริโภค
ประจำวันและขายเพื่อยังชีพ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง
จำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยเฉพาะพะยูนซึ่งปัจจุบันกำลังใกล้จะสูญพันธุ์
64 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย