Page 89 -
P. 89
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 3
สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19
สถานภาพโดยรวมของแหล่งหญ้าทะเลที่ได้รับการติดตามมีสภาพสมบูรณ์ปานกลาง (ดังตารางที่
3.22) หญ้าชนิดเด่น ได้แก่ หญ้าใบมะกรูด (Ho) หญ้าคาทะเล (Ea) และหญ้ากุยช่ายเข็ม (Hp) เมื่อเปรียบเทียบ
ข้อมูลสถานภาพหญ้าทะเลที่ได้รับการติดตามกับข้อมูลปีล่าสุด (ปี พ.ศ. 2563) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลง
เล็กน้อยในเชิงพื้นที่และการปกคลุม เช่น บริเวณอ่าวทุ่งจีนมีพื้นที่หญ้าทะเลลดลง (ดังตารางที่ 3.23)
ซึ่งจากการสังเกตบริเวณหาดตูบพบหญ้าคาทะเลโดยส่วนใหญ่มีลักษณะใบขาดสั้น ไม่สมบูรณ์ มีสีเขียว
และสีน้ำตาลปะปนกัน มีตะกอนปกคลุมใบหญ้าค่อนข้างมาก และบางส่วนมีลักษณะยืนต้นตายและราก
เน่าเปื่อย ทั้งนี้ หญ้าทะเลที่มีลักษณะใบขาดสั้นอาจเกิดขึ้นจากคลื่นลมช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วง
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา แต่เมื่อทำการขุดลึกลงไปด้านล่างของต้นหญ้าคาทะเลยังพบเหง้าของ
หญ้าคาทะเลที่มีชีวิตและมีใบอ่อนของหญ้าคาทะเลขึ้นอยู่ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นประเภทหญ้าทะเลมีชีวิตสามารถ
เจริญเติบโตและฟื้นตัวกลับได้ หากไม่มีปัจจัยหรือภัยคุกคามอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อหญ้าทะเลบริเวณ
ดังกล่าว ส่วนภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นมีแนวโน้มคงที่ (ดังตารางที่ 3.23)
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 65