Page 78 -
P. 78

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                 รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
                โครงการศึกษาการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19 และแนวนโยบายเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน




                       เพจเฟซบุ๊กของประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (2563) ได้เปิดเผยภาพ

               ฝูงวาฬเพชฌฆาตดำดังกล่าว โดยให้รายละเอียดข้อมูลว่า

                       วันที่ 22 เมษยน 2563 เวลา 17.00 น. ขณะเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ นั่งเรือ
               ออกไปลาดตระเวนตามปกติ ได้พบเจอฝูงวาฬเพชฌฆาตดำฝูงใหญ่ 10-15 ตัว แต่ละตัวความยาว

               ประมาณ 3-4 เมตร แหวกว่ายอวดโฉมบริเวณอ่าวหินงาม เกาะรอกในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา
               ซึ่งห่างจากฝั่งเพียง 400 เมตร โดยฝูงวาฬเพชฌฆาตดำที่ปรากฏตัวขึ้นมาฝูงใหญ่ และเป็นครั้งแรกที่มีการ

               พบเจอวาฬเพชฌฆาตดำในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา โดยวาฬเพชฌฆาตดำเป็นสัตว์เลี้ยงลูก
               ด้วยนมในทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphindae) เป็นวาฬมีฟัน จัดเป็นเพียงชนิดเดียว

               เท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pseudorca ที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะลำตัวยาวสีดำคล้ายกันมากกับ
               วาฬนำร่องครีบสั้น (Globicephala macrorhynchus) ต่างกันที่ลักษณะครีบหลังตั้งอยู่กึ่งกลางลำตัว

               (วาฬนำร่องครีบสั้นจะตั้งเยื้องมาทางส่วนหัว) และส่วนหัวไม่โหนกมากปลาวาฬนำร่องครีบสั้นสีดำทั้งตัว
               ส่วนท้องจะเทาจางเล็กน้อยครีบข้างโค้งหักข้อศอกเรียวยาวค่อนข้างแหลม หน้าผากกลมมนไม่มีจะ

               งอยปาก มีจำนวนฟันทั้งหมด 7-12 คู่ ในปาก ซึ่งอาหารของวาฬเพชฌฆาตดำ คือ ปลาและหมึก มีขนาด
               โตเต็มที่ยาวถึง 6 เมตร ลูกแรกเกิดยาว 1.5-2 เมตร การตั้งท้องใช้เวลา 12-14 เดือน เป็นโลมาที่พบ

               กระจายพันธุ์ทั่วทั้งโลก โดยมากจะอยู่รวมเป็นฝูงในทะเลใกล้ชายฝั่ง ในประเทศไทยมีรายงานพบในหลาย
               จังหวัดทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1


                       ทั้งนี้ ข้อมูลจากอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (2563)
               รายงานการพบเจอสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ในเขตอุทยาน ทั้งหมด 4 ชนิด (ดังตารางที่ 3.16

               ข้างต้น) ได้แก่ 1) ฉลามวาฬ จำนวน 2 ตัว 2) วาฬเพชฌฆาตร จำนวน 15 ตัว 3) โลมาปากขวด จำนวน
               1 ตัว (ตาย) และ 4) เต่ากระ จำนวน 2 ตัว ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ไม่รายงานการพบเจอสัตว์

               ทะเลหายากทั้ง 4 ชนิดดังกล่าว และนับเป็นครั้งแรกที่มีการพบเจอวาฬเพชฌฆาตดำในเขตอุทยาน
               แห่งชาติหมู่เกาะลันตา

                      (5)  เกาะลิบง จังหวัดตรัง


                       สัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่แพร่กระจายในจังหวัดตรัง ช่วงปี พ.ศ. 2560 - 2563 บริเวณ
               เกาะมุกและเกาะลิบง พบพะยูน (Dugong : Dugong dugon) และเต่าทะเล (Sea turtle) แพร่กระจาย

               อยู่มากที่สุดและมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี รองลงมาคือ พบโลมาปากขวด (Indo-Pacific bottlenose
               dolphin : Tursiopsaduncus) และโลมาไม่ทราบชนิดบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ จากการบินสำรวจการ

               แพร่กระจายของสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์บริเวณเกาะลิบง ในช่วง ปี พ.ศ. 2563 นี้ พบฉลามวาฬ
               จำนวน 1 ตัว (ดังตารางที่ 3.17 และรูปที่ 3.13)








                 54    สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83