Page 73 -
P. 73
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 3
สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในช่วงวิกฤติการณ์โควิด-19
3.3.1 สัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์
สัตว์ทะเลหายากที่พบในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เต่าทะเล (Sea turtles) พะยูน
(Dugong) และโลมาและวาฬ (Dolphins and Whales) ซึ่งส่วนใหญ่ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนและคุ้มครอง
ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งพันธุ์พืชป่าและสัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (CITES) โดยในช่วงปี พ.ศ. 2551 - 2561 พบว่า การวางไข่ของ
เต่าทะเลและการพบเห็นเต่าทะเล พะยูน โลมาและวาฬในธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.
2560 พบเต่าทะเลขึ้งมาวางไข่รวม 329 รัง จำนวนพ่อและแม่เต่าทะเล รวม 356 ตัว พะยูนรวม 221 ตัว
วาฬบรูด้ารวม 65 ตัว และโลมารวม 1,687 ตัว (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2563)
เต่าทะเล การวางไข่ของเต่าทะเลในธรรมชาติพบเพียง 4 ชนิด ได้แก่ เต่ามะเฟือง (Leatherback
turtle, Dermochelys coriacea) เต่าหญ้า (Olive ridley turtle, Lepidochelys olivacea) เต่าตนุ
(Green turtle, Chelonia mydas) และเต่ากระ (Hawksbill turtle, Eretmochelys imbricata) ซึ่งเต่า
มะเฟืองและเต่าหญ้าพบวางไข่เฉพาะชายหาดของฝั่งตะวันตกของประเทศไทย ส่วนเต่าตนุและเต่ากระ
มักพบวางไข่บนชายหาดของเกาะต่าง ๆ ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
พะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเล กินหญ้าทะเลเป็นอาหาร พะยูนที่
อาศัยอยู่ในทะเลตั้งแต่บริเวณชายฝั่งทางด้านตะวันออกของอาฟริกาจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย
จัดอยู่ในสกุล (Cenus) Dogong ชนิด (Species) Dogong ทั้งหมด ขนาดพะยูนโตเต็มที่จะ ยาวประมาณ
34 เมตร น้ำหนักประมาณ 300-400 กิโลกรัม ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ลูกพะยูนที่เกิดใหม่น้ำหนัก
ประมาณ 30 - 50 กิโลกรัม ยาวประมาณ 1 – 15 เมตร พะยูนเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนนาน 50 - 70 ปี
สามารถผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 9 - 13 ปี ตั้งท้องนานประมาณ 9- 14 เดือน พะยูนออกลูกคราวละ
1 ตัว โดยแม่จะเลี้ยงเองและให้นมลูกอยู่ประมาณ 1 ปี จึงหย่านม ในยามที่แม่พะยูนว่ายน้ำหรือหากินจะมี
ลูกพะยูนใช้ครีบเกาะติดหลังแม่พะยูนตลอดเวลา สภาพที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของพะยูน คือบริเวณ
ชายฝั่งทะเลที่มีน้ำในระดับไม่ลึกมากนัก เป็นแหล่งหญ้าทะเลและคลื่นลมสงบ พะยูนที่อยู่ในเขตน่านน้ำ
จังหวัดตรังเชื่อกันว่าเป็นฝูงสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่
วาฬและโลมา จัดเป็นสัตว์เลือดอุ่น เลี้ยงลูกด้วยนม หายใจด้วยปอด และมีอุณหภูมิในร่างกาย
คงที่เกือบตลอดเวลา กลุ่มโลมาและวาฬพบในประเทศไทย 27 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่ประจำ
ถิ่นใกล้ฝั่งและกลุ่มที่มีการอพยพย้ายถิ่นระยะไกล กลุ่มที่อยู่ประจำถิ่นใกล้ฝั่งพบ 6 ชนิด คือ โลมาปากขวด
(Indo-Pacific Bottlenose dolphin, Tursiops aduncus) โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless porpoise,
Neophocaena phocaenoides) โลมาหลังโหนก (Indo-Pacific humpbacked dolphin, Sousa
chinensis) โลมากลุ่มสตีเนลล่า (Stenella spp.) ประกอบด้วยโลมาลายแถบ โลมาลายจุด และโลมา
กระโดด โลมาอิรวดี (Irrwaddy dolphin, Orcaella brevirostris) และวาฬบรูด้า (Bryde’s whale,
Balaenoptera edeni) (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561ก)
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 49