Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
14
กรณีที่อุปสงค์ต่อสินค้าตกต่ำ ผู้ขายจะพยายามหลีกเลี่ยงการปรับราคาลดราคาขายของตน เพราะเกรงว่าจะถูก
ลงโทษโดยผู้ขายรายอื่นๆในตลาดด้วยการปรับราคาสินค้าลงมาแข่ง แต่ในกรณีที่อุปสงค์ต่อสินค้ามีมากขึ้น ผู้ขาย
แต่ละรายจะสามารถปรับขึ้นราคาขายของตนได้ทันทีโดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกลงโทษ
กล่าวโดยสรุป อำนาจเหนือตลาดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดกลไกการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตร ส่วนใหญ่
จะเน้นไปที่การปรับราคาขายสินค้าเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในราคาปัจจัยการผลิต ซึ่งทำให้เกิดการ
ส่งผ่านราคาอย่างไม่สมมาตรในเชิงบวก คือ การปรับราคาขายให้สูงขึ้นมีขนาดและความเร็วมากกว่าการปรับราคา
ขายลดลง
2.1.2 ต้นทุนในการปรับราคาสินค้า
แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์เซี่ยนใหม่ (new Keynesian economics) เชื่อว่าผู้ขายมีต้นทุนในการ
ปรับราคาสินค้า หรือเรียกว่า menu cost ต้นทุนดังกล่าวเป็นอุปสรรคทำให้ผู้ขายไม่ต้องการปรับราคาขายสินค้า
ของตน ทำให้ราคาสินค้ามีความหนืดและปรับตัวช้า (sticky price) และถ้าหากต้นทุนในการปรับราคาสินค้า
ดังกล่าวไม่สมดุลกันระหว่างการปรับราคาสินค้าขึ้นและการปรับราคาสินค้าลง ก็จะนำไปสู่การส่งผ่านราคาที่ไม่
สมมาตรอีกด้วย
ผู้ผลิตที่มีต้นทุนคงที่และมีการประหยัดจากขนาด อาจยอมไม่ขึ้นราคาในระยะสั้นเพื่อรักษายอดขาย เพื่อ
จะได้รักษาระดับการผลิตไว้ให้ใกล้เคียงกับระดับเต็มอัตรากำลังการผลิต ดังนั้นราคาขายสินค้าจึงมีแนวโน้มปรับตัว
สูงขึ้นช้ากว่าการปรับราคาลดลง (การส่งผ่านราคาไม่สมมาตรในเชิงลบ) อย่างไรก็ตามกลไกการส่งผ่านราคาไม่
สมมาตรในเชิงบวกก็อาจเกิดขึ้นได้ (การปรับราคาขึ้นเร็วกว่าการปรับราคาลดลง) ในกรณีที่การขยายการผลิตทำได้
ยากกว่าการปรับลดการผลิต เพราะการขยายการผลิตจำเป็นต้องแสวงหาปัจจัยการผลิตเพิ่มเติมซึ่งต้องใช้เวลาและ
ต้องมีค่าใช้จ่ายในการค้นหา (search cost) แต่ในขณะที่การลดปริมาณการผลิตและการใช้ปัจจัยการผลิตสามารถ
ทำได้ง่ายกว่าและรวดเร็วกว่าเพราะไม่ต้องเสียต้นทุนในการค้นหาดังกล่าว ผู้ผลิตจึงมีแนวโน้มจะปรับราคาขายให้
สูงขึ้นเร็วกว่าการปรับราคาลดลง