Page 13 -
P. 13
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
9
บทที่ 2
การทบทวนวรรณกรรม
งานศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์การส่งผ่านผลกระทบจากราคาข้าวส่งออกไปสู่ราคาข้าวข้าวและ
ข้าวเปลือกภายในประเทศ ซึ่งอาจมีสาเหตุบางประการที่ทำให้กลไกการส่งผ่านดังกล่าวไม่สมบูรณ์และอาจจะมี
ความไม่สมมาตรอยู่ด้วย กล่าวคือ การปรับตัวของราคาข้าวภายในประเทศเพื่อตอบสนองต่อการปรับตัวของราคา
ข้าวส่งออกในช่วงขาลงกับขาขึ้นมีขนาดและความเร็วในการปรับตัวไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้นการทบทวนวรรณกรรม
จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ การทบทวนแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้กลไกการปรับตัวของราคาที่ไม่
สมมาตร (asymmetric price transmission หรือ APT) จากนั้นจะทบทวนแบบแบบจำลองเชิงเศรษฐมิติรูปแบบ
ต่างๆที่อาจนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาและทดสอบกลไกการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตร และสุดท้ายจะทบทวน
งานศึกษาเชิงประจักษ์เกี่ยวกับกลไกการส่งผ่านราคาสำหรับสินค้าเกษตรรวมถึงข้าวของทั้งประเทศไทยและ
ต่างประเทศ
2.1 แนวคิดเชิงทฤษฎีการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตร
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แนวดั้งเดิมเชื่อว่าราคาเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดการจัดสรรทรัพยากรและการ
ตัดสินใจทำการผลิต การเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าชนิดหนึ่งจะส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังราคาสินค้าในตลาดอื่นๆ
ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน (vertical and horizontal transmission) การส่งผ่านราคาตามแนวตั้งหมายถึงการ
ส่งผ่านราคาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายในห่วงโซ่อุปทาน เช่น ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้ขายปลีก และผู้บริโภค ในขณะที่การ
ส่งผ่านราคาตามแนวนอนหมายการส่งผ่านราคาข้ามผ่านสถานที่และระยายทาง ภายใต้ข้อสมมติฐานว่าตลาด
สินค้ามีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ การส่งผ่านราคาจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์และทันทีทันใดทั้งในแนวตั้งและแนวนอน
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน เช่น Peltzman (2000) โต้แย้งว่ากลไกการส่งผ่านราคาที่ไม่
สมมาตรนั้นสามารถพบได้ทั่วไป เมื่อตลาดไม่ได้อยู่ในสภาวะที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์ นอกจากนั้นการส่งผ่าน
ราคาที่ไม่สมมาตรยังส่งผลให้การแบ่งสรรผลประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายอีกด้วย ผู้ซื้อจะ
เสียเปรียบถ้าหากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าเป็นไปอย่างล่าช้าหรือราคาปรับลงน้อยเกินไป ในทางตรงกัน
ข้าม ผู้ขายจะเสียเปรียบในกรณีที่ราคาสินค้ามีความล่าช้าในการปรับตัวสูงขึ้นหรือราคาปรับขึ้นน้อยเกินไป