Page 17 -
P. 17

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                           13


                       Ward (1982) อธิบายว่าการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตรจากราคาปัจจัยการผลิตไปสู่ราคาผลผลิต อาจ

               เกิดขึ้นในกรณีที่ตลาดมีผู้ขายจำนวนน้อยราย (oligopolistic market) ผู้ขายอาจจะลังเลที่จะปรับราคาขายสินค้า

               ให้สูงขึ้นเมื่อราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้น เพราะเกรงว่าจะเสี่ยงต่อการสูญเสียส่วนแบ่งตลาด ซึ่งสอดคล้องกับ

               คำอธิบายของ Baily and Brorsen (1989) ว่าถ้าผู้ขายเผชิญกับเส้นอุปสงค์ที่หักงอ (kinked demand curve) ก็

               จะทำให้ผู้ขายมีการปรับราคาขึ้นหรือปรับราคาลงอย่างไม่สมมาตร ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ขายเชื่อว่าผู้ขายรายอื่นๆจะไม่

               ปรับราคาสูงขึ้นเมื่อตนเองปรับราคาขึ้น แต่เชื่อว่าถ้าตนเองปรับราคาลดลงแล้วผู้ขายรายอื่นๆจะปรับราคาลดลง


               ตาม ในกรณีเช่นนี้เส้นอุปสงค์ต่อสินค้ามีลักษณะเป็นเส้นโค้งออกจากจุดกำเนิด (concave) และนำไปสู่กลไกการ
               ส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตรเชิงลบ (การปรับราคาผลผลิตลงมีขนาดมากกว่าและมีความเร็วกว่าการปรับราคาผลผลิต


               ขึ้น) ในทางตรงกันข้ามถ้าหากผู้ขายคาดการณ์ว่าผู้ขายรายอื่นๆจะปรับราคาขายเพิ่มขึ้นด้วยเมื่อตนปรับราคาสินค้า

               ขึ้น แต่จะไม่มีใครปรับราคาขายลงตามเมื่อตนปรับราคาขายลง กรณีเช่นนี้เส้นอุปสงค์ต่อสินค้ามีลักษณะเป็นเส้น

               โค้งเข้าหาจุดกำเนิด (convex) ทำให้เกิดกลไกการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตรในเชิงบวก (การปรับราคาสินค้าขึ้นมี

               ขนาดมากกว่าและเร็วกว่าการปรับราคาสินค้าลง)


                       นอกจากนั้น Borenstein et. al. (1997) อธิบายว่าในกรณีที่ผู้ขายแต่ละรายไม่มีข้อมูลข่าวสารอย่าง

               สมบูรณ์เกี่ยวกับการตั้งราคาขายของคู่แข่งรายอื่นๆ ผู้ขายแต่ละรายมีแนวโน้มที่จะไม่ปรับลดราคาขายของตนเมื่อ

               ราคาปัจจัยการผลิตปรับตัวลง หรือกล่าวได้ว่าราคาขายเดิมที่เป็นอยู่คือจุดโฟกัส (focal point) ของผู้ขายแต่ละ

               รายในตลาด ในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาปัจจัยการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ผู้ขายทุกรายในตลาดมีแนวโน้มจะปรับราคา

               ขายของตนให้สูงขึ้นทันที เพื่อรักษาระดับกำไรของตนไว้ ในทำนองเดียวกัน Brown and Yucel (2000) กล่าวว่า

               เมื่อมีผู้ขายจำนวนน้อย ผู้ขายเหล่านี้มักจะมีการรวมหัวหรือฮั้วกันอย่างไม่ชัดแจ้ง (unspoken collusion) เมื่อ

               ราคาปัจจัยการผลิตปรับสูงขึ้น ผู้ขายจะปรับราคาขายให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ผู้ขายราย

               อื่นๆรู้ว่าตนจะรักษาข้อตกลงในการฮั้วราคา ในทางตรงกันข้าม เมื่อราคาปัจจัยการผลิตปรับลดลง ผู้ขายจะรอคอย


               และไม่ปรับราคาขายของตนลงทันที เพราะการปรับราคาลดลงจะเป็นการส่งสัญญาณไปยังผู้ขายรายอื่นๆว่าจะมี

               การแข่งขันเพื่อแย่งลูกค้ากัน ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายข้อตกลงในการฮั้วราคากัน


                       Damania and Yang (1998) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการปรับราคาที่ไม่สมมาตรเพื่อตอบสนองต่อการ

               เปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ต่อสินค้าแทนที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงราคาปัจจัยการผลิตดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยมอง

               ว่าการปรับราคาสินค้าที่ไม่สมมาตรเป็นผลจากกลยุทธ์ในการลงโทษคู่แข่ง (punishment strategy) กล่าวคือใน
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22