Page 52 -
P. 52

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                 Theories of Marital and Family Therapy
            46



                2.  อ านาจ (Power)
                   ในโครงสร้างของระบบครอบครัว สมาชิกแต่ละคนมีอ านาจ สิทธิ หน้าที่ และความส าคัญไม่
                      ั
            เท่ากัน   ปญหาเกี่ยวกับอ านาจเกิดจากการจัดล าดับชั้นในหน่วยครอบครัวที่ไม่เหมาะสม ท าให้
            สมาชิกคนใดคนหนึ่งมีอ านาจมากเกินไป ขณะที่อีกคนหนึ่งไม่มีอ านาจอะไรเลย เช่น บางครอบครัวให้
            ความส าคัญตามล าดับอาวุโส บางครอบครัวให้ความสามารถกับสมาชิกที่เป็นผู้น ารายได้เข้าสู่

            ครอบครัว และบางครอบครัวให้ความส าคัญต่อลูกชายมากกว่าลูกสาว เป็นต้น

                3.  การรวมกลุ่ม (Alignment)
                                                                                  ้
                   การรวมกลุ่มของสมาชิกตั้งแต่สองคนขึ้นไปภายในครอบครัว เพื่อบรรลุเปาหมายร่วมกัน
                                      ้
            การรวมกลุ่มท าให้เกิดการปกปองซึ่งกันและกัน และการเก็บความลับ   การร่วมกลุ่มนี้เกิดขึ้นเพื่อ
            รักษาภาวะสมดุลภายในครอบครัว (Homeostasis) เป็นกลไกควบคุมตนเอง (self-regulating

            function) ที่ครอบครัวจะกระท าเพื่อลดความกังวลที่เกิดขึ้น และเพื่อให้เกิดความมั่นคงภายในระบบ
            ครอบครัว
                   การรวมกลุ่มที่ไม่เหมาะสม (Unhealthy alliances) ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เป็นสาเหตุ
                      ั
            ส าคัญของปญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น ลักษณะที่เรียกว่า แพะรับบาป (Scapegoating) และ
            ความสัมพันธ์แบบสามเส้า(Triangle)


                  o     แพะรับบาป (Scapegoating)
                                                                           ่
                        การที่ครอบครัวกล่าวโทษสมาชิกคนหนึ่ง ซึ่งมักเป็นผู้ปวยที่ได้รับการวินิจฉัย
                                                        ่
                        (identified patient) หรือผู้ที่มีอาการปวย (symptom bearer) Scapegoating ช่วยลด
                        ความกดดันของทั้งระบบและช่วยให้ครอบครัวรักษาสภาวะสมดุลไว้ได้

                  o     ความสัมพันธ์แบบสามเส้า (Triangle)

                        เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น เมื่อความสัมพันธ์ของคู่สมรส (dyad) เกิดความตึง
                        เครียด และดึงสมาชิกคนที่สามเข้ามาเพื่อลดความกดดันที่เกิดขึ้นตัวอย่างเช่น แม่ที่

                        ต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดผูกพันจากลูกสาว เพื่อทดแทนการไม่ได้รับความใกล้ชิด
                        ผูกพันจากสามีของตน
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57