Page 57 -
P. 57
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทฤษฏีการบ าบัดคู่สมรสและครอบครัว
51
[3] ความห่างเหิน หรือความขัดแย้ง (Becoming disengaged or polarized)
ั
ความห่างเหิน (Disengaged) และความขัดแย้ง (polarized) เป็นปญหาของคู่สมรสที่พบบ่อยครั้ง
ความห่างเหิน (Disengaged) เป็นลักษณะความสัมพันธ์ที่มีความสมดุลและมั่นคง แต่ความพึง
พอใจต่อความสัมพันธ์มีน้อย คู่สมรสหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกัน ซึ่งบางครั้งอาจเป็นผลจาก
พัฒนาการตามล าดับขั้นของครอบครัว (family development) เช่น ครอบครัวที่มีลูกวัยเด็กหลายคน
คู่สมรสอาจพบว่าการเลี้ยงดูลูกใช้พลังงานและก่อให้เกิดความเครียดสูง จนไม่มีเวลาให้ความส าคัญ
กับชีวิตสมรส
ส่วนความขัดแย้ง (polarized) เป็นลักษณะความสัมพันธ์ที่คู่สมรสมีความขัดแย้งทะเลาะโต้เถียง
กันในทุกๆเรื่อง ท าให้เกิดความห่างเหิน ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในครอบครัว
เทคนิคการบ าบัดตามแนวทาง Structural therapy และ Strategic therapy
Fish & Piercy (1987 อ้างถึงใน Young & Long, 1997) ได้ท าการรวบรวมข้อมูลจาก
ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพครอบครัวบ าบัด เกี่ยวกับแนวคิดและเทคนิควิธีการบ าบัดของ Structural
therapy และ Strategic therapy ซึ่งพบว่าสามารถแบ่งแยกวิธีการบ าบัดของทั้งสองทฤษฏีได้
ดังต่อไปนี้
ตารางที่ 2 : เทคนิคของ Structural therapy และ Strategic therapy
Structural Strategic
Joining Reframing
Boundary Marking / Making Obtaining an identifiable problem
Restructuring Prescribing the symptom
Tracking Use of client language and position
Determining the interactional sequence and
Enactment
interrupting it in some way
ที่มา : Young & Long, 1997 หน้า 52
[Type text]