Page 51 -
P. 51
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ทฤษฏีการบ าบัดคู่สมรสและครอบครัว
45 7
การบ าบัดครอบครัวเชิงโครงสร้าง (Structural family therapy)
และ การบ าบัดครอบครัวเชิงกลยุทธ์ (Strategic family therapy)
การบ าบัดครอบครัวในกลุ่มทฤษฏีระบบ มีสองแนวคิดที่ส าคัญ นั่นคือ การบ าบัดครอบครัว
เชิงโครงสร้าง (Structural family therapy) และ การบ าบัดครอบครัวเชิงกลยุทธ์ (Strategic family
therapy) ซึ่งเป็นสองแนวทางการบ าบัดที่แพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ 1970
ทั้งสองทฤษฏีถูกพัฒนาเพื่อใช้ในการบ าบัดครอบครัว และต่อมาได้ถูกน ามาใช้ในการบ าบัดคู่สมรส
โดยทั้งสองทฤษฏีมองว่าคู่สมรสเป็นส่วนหนึ่งในระบบครอบครัว สมาชิกในครอบครัวทั้งหมดมีส่วนใน
ั
การสร้างและการคงอยู่ของปญหา
Structural Family Therapy
การบ าบัดรูปแบบ Structural Family Therapy ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดย Salvador Minuchin และ
คณะ ในช่วงทศวรรษที่ 1960 โดยมีพื้นฐานแนวความคิดหลายอย่างที่พัฒนามาจากทฤษฏีระบบ
(Systems theory) แนวคิดที่ส าคัญได้แก่ ทฤษฏีโครงสร้างครอบครัว (Family Structure) ซึ่งอธิบาย
ว่า การท าความเข้าใจโครงสร้างของครอบครัว จะต้องมองใน 3 มิติ คือ ขอบเขต (Boundaries)
อ านาจ (Power) และการรวมกลุ่ม (Alignment)
1. ขอบเขต (Boundaries)
ขอบเขตเป็นเส้นแบ่งที่มองไม่เห็นซึ่งแบ่งแยกแต่ละระบบออกจากกัน ขอบเขตในระบบ
ครอบครัวจะแบ่งแยกระหว่างระบบย่อยกับระบบย่อย และระหว่างระบบครอบครัวกับระบบภายนอก
ั
ลักษณะของปญหาในเรื่องขอบเขตของครอบครัวหรือคู่สมรส มี 2 ลักษณะ คือ
o Enmeshment (การพึ่งพิงทางอารมณ์, ความพัวพัน)
ขอบเขตระหว่างสมาชิกแต่ละคนภายในครอบครัวไม่ชัดเจน คลุมเครือ ความสัมพันธ์ระหว่าง
สมาชิกจะแสดงออกมาในรูปแบบการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากจนเกินไป มีความเป็น
ส่วนตัวน้อย ไม่เป็นตัวของตัวเอง
o Disengaged (ความห่างเหิน)
เป็นด้านตรงข้ามของ Enmeshment ขอบเขตระหว่างสมาชิกในครอบครัวเข้มงวด ไม่
ยืดหยุ่น ท าให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวต่างคนต่างอยู่ ขาดความใกล้ชิดผูกพัน
[Type text]