Page 55 -
P. 55

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                      วิเคราะห์โลหะหนักในดินในรูปที่พืชดูดซึมได้ (availability forms) โดยน้ำยาสกัด DTPA (Diethylene Triamine
               Penta Acetic acid pH 7.3) และวิเคราะห์รูปที่แลกเปลี่ยนได้ของแคดเมียม ด้วยน้ำยาสกัด 1N NH 4OAc, pH 7

               ระยะเวลา  1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2562
               สถานที่ทำการทดลอง
                       1.  เรือนทดลองกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
                          กรมวิชาการเกษตร
                       2.  ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยเคมีดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
                          กรมวิชาการเกษตร

                                                  ผลการทดลองและวิจารณ์
                     1. สมบัติดินก่อนการทดลอง
                      ผลวิเคราะห์สมบัติดินที่ทำการทดลองก่อนปลูกที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร พบว่า เนื้อดินเป็นดินร่วน
               เหนียว (Clay loam) ดินเป็นด่างเล็กน้อย (pH 7.7) มีค่าการนำไฟฟ้า (EC) 0.188 เดซิซีเมนต่อเมตร อยู่ในระดับไม่เค็ม
               ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) อยู่ในระดับปานกลาง (2.80%) ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (Available P) อยู่ใน
               ระดับสูง 26 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (Exchangeable K) อยู่ในระดับสูงเท่ากับ 165
               มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีแคดเมียมสะสมในดินบนสูงถึง 13.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 2) ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน

               ที่อนุญาตให้พึงมีได้ในดินทำการเกษตร 3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ปรีดาและคณะ, 2541) และยังพบว่าการสะสมของ
               แคดเมียมในดินมีปริมาณลดลงตามลำดับชั้นความลึก (ตารางที่ 3) เนื่องจาก โดยทั่วไปโลหะที่ปนเปื้อนเนื่องจากอากาศ
               หรือน้ำเสียมักสะสมอยู่ในดินชั้นไถพรวนซึ่งมีความลึกประมาณ 20 เซนติเมตร จากผิวดิน
























                                                           47
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60