Page 54 -
P. 54

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



               วิธีการ
                      ทำการทดลองในเรือนทดลอง โดยเก็บตัวอย่างดินที่ปนเปื้อนแคดเมียมในพื้นที่ปลูกข้าว อำเภอแม่สอด จังหวัด
               ตาก นำมาทดลองปลูกข้าวในกระถาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design,

               RCB) 5 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ ประกอบด้วย
                   1.  ใส่ MgO   2 mole : 1 mole Cd ( 3 กก./ไร่)
                   2.  ใส่ MgO   4 mole : 1 mole Cd ( 6 กก./ไร่)
                   3.  ใส่ MgO   6 mole : 1 mole Cd ( 9 กก./ไร่)
                   4.  ใส่ MgO   8 mole : 1 mole Cd ( 12 กก./ไร่)
                   5.  ไม่ใส่สาร
                       เก็บดินที่ระดับความลีก 0-15 เซนติเมตร นำดินมาผึ่งให้แห้งในที่ร่ม บดย่อยดิน และชั่งดิน 10 กิโลกรัม ผสม
               คลุกเคล้าสารแมกนีเซียมออกไซด์อัตราตามกรรมวิธีทดลอง ใส่กระถางทดลอง ทิ้งไว้ก่อนปลูกข้าว 1 เดือน รักษาให้ดินมี
               ความชื้นอยู่เสมอ เพาะเมล็ดข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และย้ายต้นกล้าเมื่ออายุ 1 เดือน ปักดำในกระถางๆ ละ 4 ต้น
               ใส่ปุ๋ยเคมีอัตราแนะนำ สูตร 16-20-0 อัตรา 25 กก. /ไร่ หลังปักดำ 7 วัน และใส่ปุ๋ยยูเรีย ในช่วงข้าวตั้งท้อง

               อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ รักษาระดับน้ำให้สูงจากดินประมาณ 5 เซนติเมตร เก็บเกี่ยวข้าว วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560
               บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต ได้แก่ ความสูง การแตกกอ จำนวนรวงต่อกอ ผลผลิต และเก็บตัวอย่างแยกเป็นส่วนของ
               เมล็ด ฟาง(ต้นรวมกับใบ) และราก และเก็บตัวอย่างดินในกระถางหลังทดลอง สำหรับวิเคราะห์หาปริมาณแคดเมียมและ
               ปริมาณธาตุอาหาร
                      แมกนีเซียมออกไซด์ที่ใช้ในการทดลองมีค่าความเป็นกรด-ด่าง 11.43 ค่าการนำไฟฟ้า 228 เดซิซีเมนต่อเมตร
               และมีปริมาณแคดเมียมทั้งหมด 0.056 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 1)

               ตารางที่ 1 สมบัติทางเคมีของแมกนีเซียมออกไซด์ที่ใช้ในการทดลอง
                             สมบัติทางเคมี                                ค่าวิเคราะห์
                             pH 1:2                                          11.43
                             EC 1:5 (dS/m)                                   228
                             Total Cd (mg/kg)                                0.056

                             Total K (mg/kg)                                 139
                             Total Mg (mg/kg)                              320,467
               หมายเหตุ: MgO กระสอบละ 25 กก. ราคา 600 บาท (ปี 2560)

                      วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและเคมีของดินก่อนปลูกและหลังเก็บเกี่ยวข้าว ได้แก่ วิเคราะห์เนื้อดินโดยวิธี
               Hydrometer  ความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวก(CEC) สกัดด้วยสารละลาย 1N NH 4OAc, pH 7 (DOA, 2010)
               ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ใช้อัตราส่วนดิน:น้ำ เท่ากับ 1:1 วัดโดยเครื่อง pH meter ค่าการนำไฟฟ้า
               ใช้อัตราส่วนดิน:น้ำ เท่ากับ 1:5 วิเคราะห์อินทรียวัตถุด้วยวิธี Walkley and Black  ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ สกัดดิน
               ด้วยน้ำยา Bray II และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ สกัดดินด้วย 1N NH 4OAc, pH 7 (กลุ่มงานวิจัยเคมีดิน, 2544) และ
               วัดปริมาณโพแทสเซียมด้วยเครื่อง Inductively Couple Plasma Optical Emission Spectrometer (ICP-OES ,
               Perkin Elmer Optima 5300 DV) เทียบกับสารละลายมาตรฐาน
                      วิเคราะห์ปริมาณแคดเมียมทั้งหมดในดิน และส่วนต่างๆ ของข้าว ด้วยวิธี aqua regia (3:1  HCl : HNO3)
               ในหลอดย่อยตัวอย่างแบบเปิด (McGrath and Cunliffe, 1985) วัดปริมาณของโลหะหนักที่สกัดได้ในดินและพืช

               เปรียบเทียบกับสารละลายมาตรฐานที่ทราบความเข้มข้นที่แน่นอนด้วยเครื่อง Inductively Couple Plasma - Optical
               Emission Spectrometry (ICP-OES, Perkin Elmer Optima 5300 DV)

                                                           46
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59