Page 58 -
P. 58
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตารางที่ 7 ปริมาณการดูดดึงแคดเมียมเข้าไปสะสมในส่วนต่างๆ ของต้นข้าว(น้ำหนักแห้ง) ที่ปลูกในกระถางทดลอง
เมล็ด ราก แกลบ ฟาง
กรรมวิธี (มก./กอ) (มก./กอ) (มก./กอ) (มก./กอ)
1. ใส่แมกนีเซียมออกไซด์ 3 กก./ไร่ 0.0082 0.0666 0.0017 0.0499
2. ใส่แมกนีเซียมออกไซด์ 6 กก./ไร่ 0.0072 0.1125 0.0012 0.0442
3. ใส่แมกนีเซียมออกไซด์ 9 กก./ไร่ 0.0084 0.0744 0.0018 0.0414
4. ใส่แมกนีเซียมออกไซด์ 12 กก./ไร่ 0.0068 0.1170 0.0013 0.0476
5. ไม่ใส่สาร 0.0097 0.1362 0.0014 0.0557
เฉลี่ย 0.0080 0.1013 0.0015 0.0478
F-test ns ns ns ns
C.V. (%) 32.1 87.8 40.7 32.8
หมายเหตุ ns : ไม่แตกต่างกันทางสถิติ
4. สมบัติดินหลังเก็บเกี่ยวข้าว
สมบัติทางเคมีของดินที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร หลังเก็บเกี่ยวข้าว พบว่า ทุกกรรมวิธีไม่แตกต่างกันทาง
สถิติ โดยค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง 7.18-8.06 ปริมาณอินทรียวัตถุสูงเฉลี่ยอยู่ในช่วง 3.47-3.83 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งสูงกว่าปริมาณอินทรียวัตถุในดินก่อนทดลอง ส่วนค่าการนำไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.149-0.163 เดซิซีเมนต่อเมตร
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เฉลี่ยอยู่ในช่วง 21.4-23.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีค่าอยู่ในช่วง
109-130 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 8)
การใส่แมกนีเซียมออกไซด์อัตราต่างๆ ไม่มีผลต่อปริมาณแคดเมียมในดิน โดยปริมาณแคดเมียมทั้งหมดเฉลี่ย
อยู่ในช่วง 11.5-12.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แคดเมียมรูปที่แลกเปลี่ยนได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง 1.320-1.387 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
และแคดเมียมรูปที่พืชดูดซึมได้เฉลี่ยอยู่ในช่วง 4.185-4.420 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ตารางที่ 9)
50