Page 50 -
P. 50

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                     2.4 สมบัติดินทางกายภาพ
                       จากผลการวิเคราะห์สมบัติดินพบว่า เนื้อดินโดยส่วนใหญ่เป็นดินร่วนเหนียวปนทราย (sandy clay loam)
               ดินเป็นกรดจัด ไปจนถึงด่างอ่อน โดยดินชั้นบนมีค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ตั้งแต่ 4.6-7.6 ดินล่างมีค่า pH ตั้งแต่

               4.5-7.8 วิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เกษตรกรรมพบว่าปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีค่าตั้งแต่ระดับต่ำมากไป
               จนถึงระดับสูง โดยดินชั้นบนมีปริมาณอินทรียวัตถุตั้งแต่ 0.46-3.89 % และดินล่างมีปริมาณอินทรียวัตถุตั้งแต่ 0.18-3.62
               % และพบว่าดินบนมีปริมาณอินทรียวัตถุสูงกว่าดินล่างในเกือบทุกจุดที่ทำการเก็บตัวอย่าง และเมื่อพิจารณาปริมาณ
               ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน (Available P) พบว่าปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีค่าตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึง
               สูง โดยดินบนมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ระหว่าง 1.4-19.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในขณะที่ดินล่างพบปริมาณ
               ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ระหว่าง 1.4-52.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และจะพบว่าดินล่างมีปริมาณฟอสฟอรัส
               ที่เป็นประโยชน์สูงกว่าดินบน
                                             สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ

                      1. มีการปนเปื้อนของสารหนู ตะกั่วและแคดเมียมในพื้นที่เกษตรกรรมทั้งสองฝั่งตลอดลำน้ำ โดยพบว่าสารหนู
               ทั้งหมดในดินมีค่าเกินค่ามาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้เพื่ออยู่อาศัยและเกษตรกรรมของประเทศไทย ที่ 3.9 มิลลิกรัมต่อ
               กิโลกรัม ในขณะที่ตะกั่วและแคดเมียมนั้นมีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานของ European Economic Community (EEC)
               ที่ 100 และ 3.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามลำดับ ทั้งในดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ซึ่งการปนเปื้อนสารหนูในพื้นที่นี้อาจส่งผล
               ไปถึงคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรด้วย จึงควรมีการตรวจสอบการปนเปื้อนในพืชผลทางการเกษตร และพิจารณาถึง
               ความปลอดภัยในการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกในพื้นที่ด้วย
                      2. น้ำจากแม่น้ำที่ล้นตลิ่งในฤดูฝนและน้ำที่ถูกนำมาใช้เพื่อการเกษตรในพื้นที่เกษตรกรรมทั้งสองฝั่งแม่น้ำ
               มีผลต่อการกระจายตัวของธาตุโลหะหนักในพื้นที่นี้
                      3. สารหนูที่ปนเปื้อนในดินในพื้นที่เกษตรกรรมที่ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างมา มีค่าอยู่ในระดับสูงทางด้านทิศเหนือ
               ของเหมืองแร่ทองคำและบางส่วนของพื้นที่ทิศตะวันออกติดชุมชนเมือง เป็นพื้นที่ที่ต่ำกว่าฝั่งตรงกันข้ามของลำน้ำซึ่งเป็น
               แปลงยางพารา

                                              การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                          ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ เป็นข้อมูลทางวิชาการที่สามารถนำไปใช้ในการศึกษาวิธีป้องกันไม่ให้ดินเสื่อม
               โทรมเนื่องจากการปนเปื้อนของโลหะหนัก ตลอดจนวางแผนในการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
               เพื่อการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนักในดินและผลิตผลของพืชต่อไป ตลอดจนนักวิชาการเกษตรสามารถ
               นำไปใช้ในการพัฒนางานวิจัยด้านการลดมลพิษทางดินในพื้นที่การเกษตรกรรมได้















                                                           42
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55