Page 45 -
P. 45
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปริมาณสารหนูทั้งหมดในตัวอย่างดินพบว่า ชั้นดินบนมีค่าระหว่าง 2-71 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และชั้นดินล่างมีค่า
ระหว่าง 1-61 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และพบว่าเกือบทุกตัวอย่างดินทั้งดินบนและดินล่างมีค่าสารหนูเกินค่ามาตรฐาน
คุณภาพดินที่ใช้เพื่ออยู่อาศัยและเกษตรกรรมของประเทศไทย ที่ 3.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ภาพที่ 3)
ภาพที่ 3 ปริมาณสารหนู (As) ทั้งหมดในดินบริเวณพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียงเหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า
เมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของ As ที่ระยะห่างจากริมฝั่งน้ำ 2, 40 และ 80 เมตร พบความเข้มข้นของ As
ที่ระยะใกล้ฝั่งในระดับสูงและค่อยๆ ลดลงตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น จะเห็นได้ชัดเจนในดินชั้นล่างมากกว่าดินชั้นบน ซึ่งจาก
ข้อมูลนี้สามารถบอกได้ว่า As นั้นไม่ได้มีการสะสมอยู่ในเฉพาะดินบนเท่านั้น แต่มีการชะล้างลงไปสะสมในดินชั้นล่างด้วย
เช่นกันตามคุณสมบัติของธาตุกึ่งโลหะ (metalloid) (ภาพที่ 4)
ภาพที่ 4 เปรียบเทียบปริมาณสารหนู (As) ทั้งหมดในดินชั้นบนและชั้นล่างที่สุ่มเก็บที่ระยะห่างจากริมฝั่ง 2 เมตร
40 เมตร และ 80 เมตร ตามลำดับ
จากข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์มาพบว่าสารหนู (As) เป็นธาตุที่ปนเปื้อนในพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียงเหมืองแร่
ทองคำภูทับฟ้าที่มีค่าเกินกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้เพื่ออยู่อาศัยและเกษตรกรรมของประเทศไทยที่ 3.9 มิลลิกรัม
ต่อกิโลกรัม เมื่อพิจารณาความเข้มข้นของ As ที่ปนเปื้อนในดินชั้นบนในพื้นที่เกษตรกรรมที่ทำการสุ่มเก็บตัวอย่าง
มา พบว่าทางด้านทิศเหนือของเหมืองแร่ทองคำและบางส่วนของพื้นที่ทิศตะวันออกติดชุมชนเมืองซึ่งต่ำกว่าฝั่งตรงข้าม
ของลำน้ำ มีค่าความเข้มข้นของ As อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ในขณะที่ทางทิศใต้มีค่าการปนเปื้อนในระดับที่ต่ำกว่า (ภาพ
ที่ 5) ในขณะที่ดินชั้นล่างก็ให้ผลในแบบเดียวกันกับดินชั้นบน (ภาพที่ 6)
37