Page 42 -
P. 42

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                                                           คำนำ

                       ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนโลหะหนักในดิน เนื่องจากมีกิจกรรมหลาย
               ประเภทที่นำโลหะหนักมาใช้กันมาก ทั้งในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม การคมนาคมขนส่ง การใช้วัสดุและสารเคมี
               ทางการเกษตร น้ำทิ้ง ของเสียเหลือใช้ เป็นต้น โลหะหนักส่วนใหญ่ที่ปนเปื้อนในดิน เช่น สารหนู (As), แคดเมียม (Cd),
               โครเมียม (Cr), ทองแดง (Cu), ปรอท (Hg), นิกเกิล (Ni), ตะกั่ว (Pb), และสังกะสี (Zn) สามารถถ่ายทอดสู่สิ่งมีชีวิตโดย
               ผ่านไปตามห่วงโซ่อาหาร แพร่กระจายในสิ่งแวดล้อม เมื่อมนุษย์ได้รับจะเข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อทำให้เกิดอันตรายอาจ
               พิการหรือเสียชีวิตได้ พื้นที่ทำการเกษตรที่ปนเปื้อนโลหะหนักในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์
               โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมของเหมืองแร่ การบด การทิ้งหางแร่ การจัดการที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของ
               โลหะหนักในพื้นที่เกษตรกรรมได้ พืชผักที่ปลูกในดินที่ปนเปื้อน หรือน้ำที่เจือปนด้วยโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียมและ
               สารหนู เมื่อรับประทานหรือดื่มเข้าไปจะเกิดโรคที่สำคัญๆ ได้แก่ โรคอิไต-อิไตจากการบริโภคข้าวที่ปนเปื้อนแคดเมียม
               (Hagino, 1958; Yoshioka, 1964) โรคไข้ดำหรือมะเร็งผิวหนังจากพิษสารหนูเรื้อรัง หรือโรคที่เกิดจากความเป็นพิษของ
               ตะกั่ว มีอาการถ่ายท้อง ปวดท้อง ปวดศีรษะ กระดูก ชา บวมตามแขนขา หากเป็นในเด็กทำให้มีสภาพผิดปกติ
               และมีพัฒนาการทางสมองช้า (WHO, 2000) ด้วยเหตุนี้ จึงควรมีการศึกษาเพื่อหาวิธีที่ถูกต้องในการจัดการปัญหาโลหะ
               หนักที่ปนเปื้อนในดินอย่างถูกต้องเหมาะสม จำเป็นจะต้องมีการวิจัยและพัฒนาหาข้อมูลในด้านการประเมินคุณภาพดิน
               และการจัดการดินที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีและโลหะหนักในประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้กำหนด

               มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขที่เหมาะสมต่อไป
                      การบำบัดหรือฟื้นฟูพื้นที่ที่ปนเปื้อนโลหะหนัก แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ 1. การบำบัดในพื้นที่ (In situ) มีข้อดี
               คือกระบวนการบำบัดไม่ยุ่งยากและใช้ต้นทุนค่อนข้างต่ำ แต่มีข้อเสียเนื่องจากเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงสภาพการละลาย
               ของสิ่งปนเปื้อนให้อยู่ในรูปที่มีการละลายต่ำและไม่ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม และอาจมีการปลดปล่อยสู่สภาพแวดล้อม
               อีกครั้งเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป 2. การบำบัดภายนอกพื้นที่ (Ex situ) เป็นการสกัดหรือแยกสารมลพิษออกด้วย
               วิธีทางเคมี ทางกายภาพหรือทางชีวภาพ โดยมีข้อดีคือสามารถกำจัดโลหะหนักที่เคลื่อนย้ายได้ง่ายออกเกือบทั้งหมด แต่มี
               ข้อเสียคือเรื่องค่าใช้จ่าย การใช้วัสดุปรับปรุงดินโดยส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการลดการแพร่กระจายของโลหะหนักโดยการ
               ลดการเคลื่อนย้าย (immobilization) โดยกระบวนการดูดซับ (absorption) กระบวนการตกตะกอน (precipitation)
               หรือการเปลี่ยนสภาพเป็นรูปของแข็ง (solid-phase transformation) กับวัสดุปรับปรุงดินตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น ทำให้
               เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่ทำให้โลหะหนักอยู่ในรูปที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ วัสดุปรับปรุงดินที่ใช้มีหลายชนิด
               เช่น วัสดุฟอสฟอต (อะพาไทต์ หินฟอสเฟต ปุ๋ยฟอสเฟตและกรดฟอสฟอริก) (Nzihou and Sharrock, 2010) ปูนขาว
               (Gray et al., 2006) อินทรียวัตถุ (Park et al., 2011) และแร่ซีโอไลต์ (Friesl et al., 2003) ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่าย
               และราคาไม่สูงมากนัก โดยการใช้วัสดุดังกล่าวเหล่านี้เพื่อปรับปรุงสภาพดินปนเปื้อนถือเป็นวิธีทางเลือกที่เป็นไปได้ในเชิง

               ปฏิบัติ
                                                      วิธีการดำเนินการ
               อุปกรณ์
                       1. ถุงกระดาษ ถุงพลาสติก ถุงตาข่ายขนาด 50x75 เซนติเมตร ใช้สำหรับเก็บตัวอย่างพืช
                       2. อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างดิน เช่น จอบ พลั่วมือ กระบอกเก็บดิน
                       3. สารเคมีและวัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น กรดไนตริก กรดซัลฟิวริก กรดไฮโดรคลอริก แอมโมเนียมอะซีเทต เฟอร์รัส

               แอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมไดโครเมต สารละลายมาตรฐานแคดเมียม ตะกั่ว ทองแดง สังกะสีและเหล็ก เป็นต้น
                       4. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ เช่น หลอดแก้วสำหรับย่อยตัวอย่างดินและพืช บีกเกอร์แก้วและ
               พลาสติก หลอดพลาสติกสำหรับเครื่องเหวี่ยง (centrifuge tube) เครื่องเหวี่ยง (centrifuge) เครื่องวิเคราะห์ปริมาณ
               โลหะหนัก (ICP-OES)
                       5. เครื่องจับพิกัด (GPS)


                                                           34
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47