Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
วิธีการ
1. สำรวจ (survey) เก็บตัวอย่างดินและตะกอนท้องน้ำ บริเวณพื้นที่เกษตรกรรมด้านฝั่งตะวันออก เหมืองแร่
ทองคำภูทับฟ้า ริมลำน้ำฮวย บ้านนาหนองบง บ้านภูทับฟ้าพัฒนา บ้านห้วยผุก และบ้านกกสะทอน ตำบลเขาหลวง
อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างดินในพื้นที่
เกษตรกรรมที่ใช้น้ำที่ผ่านกิจกรรมของเหมืองแร่ โดยเก็บตัวอย่างดินมีระยะห่างในแต่ละจุด 40 เมตร โดยมีจุดอ้างอิงจาก
ลำห้วยออกไปทั้ง 2 ฝั่ง แต่ละจุดเก็บตัวอย่างดิน 2 ระดับความลึก คือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง (ที่ระดับต่ำกว่าดินบนลง
ไปจนถึง 60 เซนติเมตร) พร้อมบันทึกพิกัดตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างโดยใช้ Global Positioning System (GPS) และสุ่ม
เก็บตัวอย่างตะกอนดินท้องน้ำ (bed load sediment) โดยเก็บตัวอย่างตะกอนดินท้องน้ำบริเวณกลางน้ำ
2. วิเคราะห์สมบัติพื้นฐานทางกายภาพและเคมีของดิน ได้แก่ วิเคราะห์เนื้อดินโดยวิธี Hydrometer ค่าความ
เป็นกรด-ด่าง (pH) ใช้อัตราส่วนดิน:น้ำ เท่ากับ 1:1 (Peech, 1965) วัดโดยเครื่อง pH meter วิเคราะห์
อินทรียวัตถุด้วยวิธี Walkley and Black (Nelson and Sommers, 1982) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ สกัดดิน
ด้วยน้ำยา Bray II วิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักทั้งหมดในดิน (Total heavy metals) และโลหะหนักในดินในรูปที่พืชดูด
ซึมได้ (availability forms) วัดปริมาณของโลหะหนักที่สกัดได้ในดินเปรียบเทียบกับสารละลายมาตรฐานที่ทราบความ
เข้มข้นที่แน่นอนด้วยเครื่อง Inductively Couple Plasma - Optical Emission Spectrometry (ICP-OES, Perkin
Elmer Optima 5300 DV)
3. การบันทึกข้อมูล
- ข้อมูลภาคสนาม : บันทึกพิกัดทุกตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างโดยใช้ Global Positioning System (GPS)
- ข้อมูลห้องปฏิบัติการ : ผลวิเคราะห์ดินทางเคมี เช่น ปริมาณโลหะหนักทั้งหมดและปริมาณโลหะหนัก
ในรูปที่พืชสามารถดูดดึงได้ (extractable form) ปริมาณอินทรียวัตถุ ความเป็นกรดเป็นด่างและฟอสฟอรัสที่เป็น
ประโยชน์
- การวิเคราะห์ข้อมูล : นำเข้าข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติ (regression และ
correlation) ระหว่างปริมาณของโลหะหนักทั้งหมดในดิน ปริมาณโลหะหนักที่สกัดได้กับเนื้อดินและปริมาณอินทรียวัตถุ
รวบรวมและวิเคราะห์ผลประเมินระดับการปนเปื้อนของโลหะหนักในดินและตะกอนดิน โดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่
อนุญาตให้พึงมีในดินเพื่อการเกษตร จัดทำแผนที่แสดงปริมาณของโลหะหนักในพื้นที่และหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับ
การฟื้นฟูและมาตรการฟื้นฟูการปนเปื้อนต่อไป
ระยะเวลา เริ่มต้น ปี 2560 สิ้นสุด ปี 2562
สถานที่ทำการทดลอง : 1. พื้นที่เกษตรกรรมโดยรอบเหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
2. ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานวิจัยเคมีดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
ผลการทดลองและวิจารณ์
1. การปนเปื้อนของแคดเมียม ตะกั่ว และสารหนูในตะกอนดินท้องน้ำ
จากการเก็บตัวอย่างตะกอนดินท้องน้ำ (sediments) จากลำห้วยสาธารณะ ตำบลเขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย
โดยเก็บตัวอย่างที่ห้วยเหล็กและห้วยผุก ลำห้วยละ 4 ตัวอย่าง พบปริมาณสารหนูทั้งหมดในตะกอนดินที่ระดับสูง
เกินเกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำผิวดินที่ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามประกาศของกรมควบคุมมลพิษ 2561
(ภาพที่ 1) โดยเฉพาะตะกอนดินที่เก็บมาจากห้วยเหล็ก ซึ่งไหลผ่านด้านข้างของเหมืองบริเวณใกล้เคียงกับบ่อดักตะกอน
ของเหมืองแร่ทองคำ พบสารหนูในตะกอนดินที่ระดับ 31.6-232.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และพบสารหนูในตะกอนดินห้วย
ผุก 21.7-41.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยลำห้วยทั้งสองสายนี้จะไหลลงไปสู่ชุมชนด้านล่างก่อนไปรวมสายเป็นลำน้ำฮวย
ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลักที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์ทั้งเพื่อการอุปโภคและบริโภค นอกจากนี้ยังพบแคดเมียมและตะกั่วในตะกอนดิน
35