Page 44 -
P. 44
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ท้องน้ำที่ระดับ 0-0.13 และ 3.43-30.76 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งไม่เกินเกณฑ์คุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำ
ผิวดินตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดไว้คือ 0.16 และ 36 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ
Total As in sediments
250.0 232.2 221.1
200.0
141.9
150.0
mg/kg 100.0
41.1
50.0 31.6 21.7 23.1 23.6
10.0 0.0
No. of Sample
ภาพที่ 1 ปริมาณสารหนู (As) ทั้งหมดในตะกอนดินห้วยเหล็กและห้วยผุก ตำบลเขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย
2. การปนเปื้อนของแคดเมียม ตะกั่ว และสารหนูในดิน
ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดินบริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า เพื่อประเมินการปนเปื้อนในเบื้องต้นและกำหนด
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยทำการสุ่มเก็บตัวอย่างดิน 29 จุด จำนวน 105 ตัวอย่าง พบว่าปริมาณโลหะหนักทั้งหมดในดิน
สะสมมากที่สุดที่ระดับความลึกไม่เกิน 30 เซนติเมตร ซึ่งตัวอย่างดินส่วนใหญ่มีค่าโลหะหนักเกินค่าเกณฑ์มาตรฐานโลหะ
หนักที่ยอมรับให้มีได้ในดินคือ สารหนู 3.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตะกั่ว 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แคดเมียม 3.0 มิลลิกรัม
ต่อกิโลกรัม พบว่าทั้ง 3 หมู่บ้านคือ บ้านนาหนองบง บ้านภูทับฟ้าพัฒนา และบ้านกกสะทอน มีปริมาณโลหะหนักทั้ง 3
ชนิดปนเปื้อนในดินในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายได้ จึงทำการกำหนดพื้นที่ที่จะสำรวจเก็บตัวอย่างดินแบบละเอียด โดยใช้
วิธี grid sampling แบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 บริเวณ ตามแนวลำน้ำฮวย คือ 1) บ้านนาหนองบง 2) บ้านภูทับฟ้าพัฒนา
3) บ้านห้วยผุก และ 4) บ้านกก สะทอน ทำการเก็บตัวอย่าง รวม 4 หมู่บ้าน จำนวน 256 จุดเก็บตัวอย่าง (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 2 แสดงตำแหน่งการสุ่มเก็บตัวอย่างดินบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม 4 หมู่บ้าน ใกล้เคียงเหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า
2.1 ปริมาณสารหนู (As) ในดิน
36