Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เรื่อยๆเมื่อราคาข้าวโพดเพิ่มขึ้น ในขณะที่เมื่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงดังในกรณีที่ 1.2 คือราคาข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 14.61 ส่งผลให้รายได้สุทธิลดลงร้อยละ 6.34 ค านวณสัดส่วนรายได้สุทธิต่อราคา
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เท่ากับ 0.4339
ด้านกิจกรรมการสร้างรายได้ ในทุกกรณีราคาข้าวโพดผันผวนส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการเกษตร
ในพื้นที่โดยเฉพาะเมื่อราคาข้าวโพดเพิ่มขึ้น เกษตรกรจึงตัดสินใจเพาะปลูกข้าวโพดเพิ่มขึ้น แต่ด้วยข้อจ ากัด
ด้านที่ดินท าให้เกษตรกรต้องลดการเพาะปลูกพืชอื่นๆลง ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงราคาข้าวโพดกลับส่งผล
กระทบน้อยมากต่อการเลือกกิจกรรมสร้างรายได้อื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงราคาข้าวโพดส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรที่ดินและแรงงานลดลง โดยเฉพาะกรณีที่
ราคาข้าวโพดลดลง เพราะเกษตรกรตัดสินใจเพาะปลูกข้าวโพดลดลงโดยที่ไม่ได้ท ากิจกรรมอื่นๆทดแทน
กรณีราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีการใช้ที่ดินเพิ่มขึ้นในเดือน มิ.ย. – ก.ย. เพราะการเพาะปลูก
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการหันมาเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ท าให้คนในหมู่บ้านต้องลด
พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นที่มีการใช้ที่ดินทั้งปี ดังนั้นจึงใช้ทรัพยากรที่ดินในเดือนที่ไม่สามารถปลูกข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์ได้ลดลง รวมไปถึงมีการลดความเข้มข้นในการใช้ทรัพยากรแรงงานในหมู่บ้านลง
สถานการณ์จ าลองนโยบายส่งเสริมด้านการตลาดมะขามแกะฝัก
สถานการณ์นี้จ าลองนี้มีแนวคิดจากที่มะขามเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบูรณ์ และมี
การริเริ่มท าผลิตภัณฑ์มะขามแกะฝักในพื้นที่ นโยบายจ าลองนี้จึงสมมุติว่ารัฐบาลส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์
มะขามแกะฝักของหมู่บ้าน โดยนโยบายท าให้เปลี่ยนแปลงสัมประสิทธิ์ ดังนี้ ราคามะขามเปลี่ยนจาก 29.95
บาทต่อกิโลกรัม เป็น 55.76 บาทต่อกิโลกรัม โดยคิดจากราคาถ่วงน ้าหนักของผลผลิตมะขามปกติ และ
ผลผลิตมะขามที่สามารถน าไปใช้ในการแกะฝักได้ เปลี่ยนแปลงแรงงานที่ใช้ในการแกะฝัก และเงินทุนที่ใช้
ในเดือนก.พ. และมี.ค.ซึ่งเป็นเดือนที่มะขามออกฝัก
การวิเคราะห์สถานการณ์การจ าลอง พบว่า เมื่อมีนโยบายนี้เข้ามาส่งผลให้รายได้สุทธิของคนทั้ง
หมู่บ้านเพิ่มขึ้นจากแบบจ าลองพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 6.80 กิจกรรมการเพาะปลูกมีการเปลี่ยนแปลง คือ คน
ในหมู่บ้านมีการเพาะปลูกมะขามมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 60.76 จากพื้นที่เพาะปลูกเดิมในแบบจ าลองพื้นฐาน
หมู่บ้านลดกิจกรรมเพาะปลูกพืชอื่นๆลง ดังนี้ ข้าวลดลงร้อยละ 13.66 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์1 ลดลงร้อยละ 3.56
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์2ลดลงร้อยละ 1.95 ถั่วร้อยละ 1.95 มันส าปะหลังร้อยละ 1.93 และมะม่วงร้อยละ 1.00
นโยบายส่งเสริมด้านการตลาดมะขามแกะฝักนี้มีผลกระทบต่อกิจกรรมในภาคเกษตรหรือการเพาะปลูกพืช
เท่านั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมรับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว และการท างานต่างถิ่น เหตุเพราะข้อจ ากัดส าคัญใน
การเพาะปลูกคือทรัพยากรที่ดิน มิใช่ทรัพยากรแรงงาน