Page 16 -
P. 16

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       เนื่องจากมะขามเป็นไม้ยืนต้น ดังนั้นการเพาะปลูกมะขามมากขึ้นส่งผลให้จ านวนการใช้ทรัพยากร

               ที่ดินของหมู่บ้านกระจายตัวไปในแต่ละเดือนมากขึ้น การใช้ที่ดินโดยรวมทั้งปีมากขึ้นร้อยละ 4.33 ด้านการ
               ใช้ทรัพยากรแรงงานมีการใช้แรงงานเข้มข้นขึ้นในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.48 และ

               11.10 จากแบบจ าลองพื้นฐาน ตามล าดับ เพราะเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์นี้เป็นช่วงเดือนที่มะขามมี

               ผลผลิตให้เก็บเกี่ยว อีกทั้งการแปรรูปมะขามแกะฝักยังต้องท าในช่วงเดียวกัน ในภาพรวมการสนับสนุน
               นโยบายนี้จะท าให้จ านวนทรัพยากรแรงงานที่หมู่บ้านใช้มีจ านวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.19 จากการใช้แรงงานใน

               แบบจ าลองพื้นฐาน



                       สถานการณ์จ าลองนโยบายค่าจ้างแรงงานขั้นต ่าเปลี่ยนแปลงไป
                       แนวคิดของนโยบายนี้มาจากการที่แรงงานเป็นทรัพยากรส าคัญของเศรษฐกิจของหมู่บ้านซับเจริญ

               โดยคนในหมู่บ้านมีการท างานเป็นแรงงานรับจ้างทั้งที่ท างานในหมู่บ้านและการย้ายถิ่นไปท างาน การ

               ก าหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต ่าที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นนโยบายที่น่าจะส่งผลกระทบต่อการเลือกกิจกรรมการสร้าง

               รายได้ของคนในหมู่บ้าน เพื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหวของค่าแรงขั้นต ่าต่อรายได้และการเลือกกิจกรรมสร้าง
               รายได้ งานวิจัยได้สร้างแบบจ าลองย่อย 2 กรณี ดังนี้

                       1.1 กรณีที่ค่าจ้างแรงงานนั้นต ่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.28 (วิเคราะห์จากแนวโน้มการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้น

                          ต ่าของรัฐบาลครั้งล่าสุด) คิดเป็น 325 บาทต่อวัน
                       1.2 กรณีที่ค่าจ้างแรงงานนั้นต ่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.16 (วิเคราะห์จากการปรับค่าแรงขั้นต ่าทั้งประเทศ

                          ไทยและประเทศเพื่อบ้าน) คิดเป็น 350 บาทต่อวัน

                       การจ าลองสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงค่าสัมประสิทธิ์จากการที่ค่าจ้างแรงงานเปลี่ยนแปลงไป
               คือ รายได้ของแรงงานรับจ้างไร้ฝีมือ และแรงงานรับจ้างชั่วคราวย้ายถิ่น  และต้นทุนเงินค่าจ้างแรงงานของ

               กิจกรรมธุรกิจส่วนตัว


                       ผลการจ าลอง พบว่า นโยบายค่าแรงขั้นต ่าเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบให้รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นน้อยมาก คือ

               กรณีที่ 3.1 รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.42 และกรณีที่ 3.2 รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.81ในภาพรวม

               นโยบายเพิ่มค่าจ้างแรงงานขั้นต ่าส่งผลให้คนในหมู่บ้านเลือกกิจกรรมสร้างรายได้จากการเป็นแรงงาน

               รับจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.76 และ 3.04 ตามล าดับ กิจกรรมการย้ายถิ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.41 และ 0.57 ตามล าดับ
               ในขณะที่เลือกสร้างรายได้ด้วยกิจกรรมอื่นๆลดลง คือ ธุรกิจส่วนตัวลดลงร้อยละ 0.16 และการเพาะปลูก

               ลดลงร้อยละ 0.03 สังเกตุได้ว่าการท างานรับจ้าง ธุรกิจส่วนตัว และการย้ายถิ่นมีการเปลี่ยนแปลงจาก

               นโยบายนี้ แต่การเกษตรกลับเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่ากิจกรรมการเพาะปลูกในพื้นที่

               การศึกษาใช้แรงงานน้อยกว่ากิจกรรมอื่นๆ ส่งผลให้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีข้อจ ากัดทางแรงงานเป็น
               ส าคัญจึงมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21