Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สัตว์ และนโยบายการตลาดมะขามแกะฝัก ซึ่งเป็นนโยบายด้านการเกษตรส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการ
เพาะปลูกพืช แต่ส่งผลกระทบน้อยมากต่อกิจกรรมการสร้างรายได้อื่นๆ นั่นหมายความว่าส าหรับกิจกรรม
การเกษตรแล้ว ทรัพยากรที่เป็นทรัพยากรข้อจ ากัดที่ส าคัญ คือ ทรัพยากรที่ดิน เพราะถ้าต้องการเพิ่มการ
เพาะปลูกพืชที่ได้รับการส่งเสริมหมู่บ้านจ าเป็นต้องจัดสรรที่ดินให้สามารถเพาะปลูกพืชที่ได้รับการส่งเสริม
และลดจ านวนการเพาะปลูกพืชที่ได้รายได้สุทธิน้อยกว่าลง จึงกล่าวได้ว่านโยบายด้านการเกษตรไม่สามารถ
ดึงให้ผู้ที่ท างานนอกภาคเกษตร หรือผู้ที่ย้ายถิ่นกลับมาเพาะปลูกได้
สถานการณ์จ าลองที่ใช้ทรัพยากรที่ดินได้คุ้มค่าที่สุด คือ นโยบายการส่งเสริมการตลาดมะขามแกะ
ฝัก เพราะว่าการส่งเสริมการตลาดมะขามเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่มาเพาะปลูกไม้ยืนต้น
ซึ่งมีการใช้ที่ดินตลอดทั้งปี โดยเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 4.33 ของที่ดินที่ใช้ในแบบจ าลองพื้นฐาน ในขณะที่
นโยบายลดราคาข้าวโพดท าให้การใช้ทรัพยากรที่ดินรวมทั้งปีลดลงมากที่สุด โดยคิดเป็นลดลงร้อยละ 8.68
จากการใช้ที่ดินในแบบจ าลองพื้นฐาน ด้านการใช้ทรัพยากรแรงงานในทุกสถานการณ์จ าลองมีการใช้
แรงงานอย่างเข้มข้น เมื่อเปรียบเทียบการใช้แรงงานโดยรวม พบว่า นโยบายการตลาดมะขามแกะฝัก มีการ
จัดสรรให้ใช้ทรัพยากรแรงงานได้มากที่สุด โดยมีการใช้แรงงานรวมทั้งปีมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 2.43 เมื่อ
เทียบกับการใช้แรงงานของแบบจ าลองพื้นฐาน
5. ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
การศึกษาพบว่า 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552 -2561) แม้ว่าครัวเรือนในชนบทจะมีรายได้สุทธิต่อหัวที่
สูงขึ้น แต่กลับพบว่าครัวเรือนมีความเหลื่อมล ้าทางรายได้สูงขึ้นไปด้วย อีกทั้งหนี้สินต่อหัวคนในชุมชนมี
แนวโน้มสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในปีการศึกษา 2561 ซึ่งพบว่าหนี้สินต่อหัวมีจ านวนมากกว่ารายได้สุทธิ
ต่อหัว อีกทั้งยังมีครัวเรือนกว่าครึ่งที่เป็นผู้ที่อยู่ภายใต้เส้นความยากจนทางด้านการบริโภค ดังนั้นงานวิจัยนี้
จึงต้องการชี้ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรหันมาสนใจนโยบายที่ลดปัญหาหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ
ชุมชนในชนบท ตลอดจนลดปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล ้าทางรายได้ในสังคมชนบท ตลอดจน
บทบาทของภาคการเกษตรในสังคมชนบทก าลังลดความส าคัญลงเห็นได้จากการที่แหล่งรายได้ และอาชีพ
หลักของพื้นที่การศึกษามีเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรเป็นนอกภาคการเกษตรมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในการ
ส่งเสริมนโยบายต่างๆในพื้นที่ชนบทจึงควรให้ความส าคัญกับทั้งอาชีพในภาคการเกษตรและอาชีพนอกภาค
การเกษตรของคนในชุมชนควบคู่กันไป