Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจย้ายถิ่นของครัวเรือน

                       ผลของการวิเคราะห์ด้วยแบบจ าลองโพบิท พบว่า มีปัจจัยที่ส่งผลต่อความน่าจะเป็นในการตัดสินใจ
               ของครัวเรือนหมู่บ้านซับเจริญให้สมาชิกย้ายถิ่น ดังนี้ อายุของหัวหน้าครัวเรือน อายุเฉลี่ยของสมาชิกใน

               ครัวเรือน และอายุเฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนก าลังสอง จ านวนปีที่ได้รับการศึกษาเฉลี่ยของสมาชิก

               ครัวเรือน จ านวนสมาชิกครัวเรือน จ านวนถือครองที่ดินต่อหัว พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น เวลาที่เข้ามาอาศัยใน

               หมู่บ้านเทียบกับสิทธิ์ในที่ดิน อัตราส่วนคนย้ายถิ่นในแต่ละกลุ่มสังคม สมาชิกครัวเรือนที่เป็นสมาชิกของ
               กลุ่มสังคม และปีที่ส ารวจ



                       โดยมีตัวแปรที่น่าสนใจ คือ ตัวแปรอัตราส่วนคนย้ายถิ่นในแต่ละกลุ่มสังคม ซึ่งตัวแปรนี้สะท้อนถึง

               ผลกระทบจากความกดดันของสังคม (peer effect) หมายความว่าสภาพแวดทางสังคมมีผลอย่างมากในการ
               ตัดสินใจของย้ายถิ่นของครัวเรือน กล่าวได้ว่าเมื่อครัวเรือน พบว่า  ญาติหรือเพื่อนบ้านของตนมีสมาชิกที่ย้าย

               ถิ่นฐานไปท างานต่างถิ่น ส่งผลให้ครัวเรือนรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการท างานและโอกาสในต่างถิ่น ท าให้มี

               แนวโน้มส่งสมาชิกในครัวเรือนย้ายถิ่นตามไปด้วย และตัวแปรเวลาที่เข้ามาอาศัยในหมู่บ้านเทียบกับสิทธิ์ใน
               ที่ดิน ซึ่งเป็นตัวแปรที่สะท้อนถึงผลกระทบของความยืดหยุ่นในสิทธิ์การใช้ที่ดิน การที่ครัวเรือนมีความ

               ยืดหยุ่นในการใช้ที่ดินที่มากกว่าส่งผลให้ครัวเรือนที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านก่อนมีการเริ่มใช้เอกสารสิทธิ์ ส.

               ป.ก. 4-01 มีต้นทุนน้อยกว่าในการย้ายถิ่น ในขณะที่ผู้ที่เข้ามาอยู่ที่หลังต้องถือเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 ซึ่ง
               สามารถใช้เพื่อการเกษตรเท่านั้น ท าให้มีครัวเรือนที่มาอยู่ทีหลังแนวโน้มอยู่ในหมู่บ้านเพื่อท าการเกษตร

               มากกว่าย้ายถิ่นไปท างานที่อื่น



                       ผลกระทบของการย้ายถิ่นต่อรายได้สุทธิทั้งหมด และรายได้สุทธิภาคเกษตรของครัวเรือน
                       ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้สุทธิทั้งหมดของครัวเรือน พบว่ามีปัจจัยที่มีผลต่อรายได้สุทธิ

               ทั้งหมดของครัวเรือน ดังนี้ การย้ายถิ่นของสมาชิกครัวเรือน จ านวนปีที่ได้รับการศึกษาเฉลี่ยของสมาชิก

               ครัวเรือน อัตราการพึ่งพิง พื้นที่ปลูกพืชไร่ และปีที่ท าการส ารวจ ทั้งนี้ปัจจัยการย้ายถิ่นของสมาชิกใน
               ครัวเรือนไม่เป็นไปดังสมมุติฐาน เพราะการย้ายถิ่นของครัวเรือนกลับส่งผลกระทบเชิงลบต่อรายได้สุทธิของ

               ครัวเรือนในหมู่บ้าน นั่นหมายความว่าการที่ครัวเรือนส่งสมาชิกไปท างานต่างถิ่นกลับส่งผลให้รายได้สุทธิ

               น้อยกว่าครัวเรือนที่ไม่ได้ส่งสมาชิกย้ายถิ่น เพราะว่าจ านวนเงินหรือสิ่งของที่สมาชิกกผู้ย้ายถิ่นส่งกลับมาให้

               ครัวเรือนในชนบทนั้นมีจ านวนน้อยกว่า จ านวนเงินที่สมาชิกครัวเรือนได้รับจากการท างานในชนบทนั่นเอง


                       ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อรายได้สุทธิภาคเกษตรของครัวเรือน พบว่ามีปัจจัยที่มีผลต่อรายได้

               สุทธิในภาคเกษตรของครัวเรือน ดังนี้ การย้ายถิ่นของสมาชิกครัวเรือน อายุเฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือน
               และอายุเฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนก าลังสอง อัตราการพึ่งพิง พื้นที่ปลูกพืชไร่ โดยที่การย้ายถิ่นของ

               สมาชิกในครัวเรือนส่งผลกระทบเป็นไปดังสมมุติฐาน คือ ผลกระทบของการย้ายถิ่นของครัวเรือนต่อรายได้
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18