Page 12 -
P. 12

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                       การเปลี่ยนแปลงของรายได้ และแหล่งรายได้ครัวเรือน

                       รายได้ต่อหัวของคนในหมู่บ้านซับเจริญเพิ่มขึ้นจาก 27,365.35 บาทต่อคนต่อปี ในปี 2552 เป็น
               50,584.78 บาทต่อคนต่อปี  ในปี  2561 หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 84.85 เมื่อพิจารณาการบริโภคของ

               ครัวเรือน พบว่า หมู่บ้านมีจ านวนครัวเรือนยากจนลดลง ในปี 2552 มีจ านวนครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 62.86

               อยู่ใต้เส้นความยากจน ในขณะที่ปี 2561 ครัวเรือนจ านวนร้อยละ 55.42 อยู่ใต้เส้นความยากจน อย่างไรก็ดี

               งานวิจัยพบว่า ครัวเรือนจ านวนกว่าครึ่งหนึ่งของหมู่บ้านยังคงอยู่ใต้เส้นความยากจน ประกอบกับหนี้สินต่อ
               หัวของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 20,145.55 บาทต่อคนต่อปี ในปี 2552 กลายเป็น 52,009.46 บาทต่อคนต่อปี ใน

               ปี 2561 คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 158.17


                       ทั้งนี้แม้ว่าหนี้สินต่อหัวของครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างมากแต่เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดแล้ว พบว่าใน

               ปี 2561 กลับมีจ านวนครัวเรือนที่มีไม่มีหนี้สินเพิ่มขึ้น คือ ในปี 2552 มีครัวเรือนที่ไม่มีหนี้สินร้อยละ 12.86

               ในขณะที่ปี 2561 คิดเป็นร้อยละ 28.92 รวมถึงในปี 2561 ครัวเรือนมีแนวโน้มการใช้เงินกู้ที่ดีขึ้น เพราะในปี

               2552 ครัวเรือนมีการกู้เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายในครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 36.14 จากยอดเงินกู้ทั้งหมด
               ในขณะที่วัตถุประสงค์การกู้เพื่อใช้จ่ายในครัวเรือนนี้ลดลงเหลือ ร้อยละ 13.1 ในปี 2561



                       ครัวเรือนในหมู่บ้านมีความไม่เท่าเทียมกันทางรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อน าข้อมูลที่ได้จากการ
               สัมภาษณ์ ผลการวิเคราะห์แบบจ าลองรายได้ และการสังเกตุของนักวิจัยในขณะที่อยู่ในพื้นที่ พบว่า มีความ

               เป็นไปได้ที่ความเหลื่อมล ้าที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความได้เปรียบของบางครัวเรือนที่มีการศึกษาสูงกว่า โครงสร้าง

               อายุที่เหมาะสมในการท างาน ท าให้สามารถเข้าถึงแหล่งงานและทรัพยากรได้มากกว่าครัวเรือนอื่นๆ เช่น
               ครัวเรือนบางครัวเรือนมีที่ดินหรือสามารถเช่าที่ดินได้จ านวนมาก เมื่อเวลาผ่านไปย่อมมีการสร้างประโยชน์

               จากการใช้ที่ดินและต่อยอดได้มากกว่า หรือครัวเรือนมีการลงทุนด้านการศึกษาท าให้สามารถท างานเฉพาะ

               ทางหรือสร้างธุรกิจส่วนตัวได้ดีกว่า นอกจากนี้จากการสังเกตุพบว่าครัวเรือนที่เข้ามาอยู่อาศัยใหม่และ
               ครัวเรือนที่กลับมาจากการย้ายถิ่นในช่วงการส ารวจปี 2561 ส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนที่มีรายได้สูง ประกอบ

               ไปด้วย ครัวเรือนที่ต้องการลงทุนด้านการเกษตรในพื้นที่ เช่น ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ท าสวนมะม่วง เป็นต้น

               หรืออาชีพอื่นๆ เช่น ครู พนักงานองค์การบริหารส่วนต าบล เป็นต้น


                       แหล่งรายได้หลักของครัวเรือนเปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพาภาคการเกษตร เป็นพึ่งพาแหล่งรายได้

               นอกภาคการเกษตร คิดจากสัดส่วนรายได้จากภาคเกษตรร้อยละ 57.31 ในปี 2552 เหลือร้อยละ 43.17 ในปี

               2561 เนื่องจากสมาชิกในหมู่บ้านเปลี่ยนไปรับจ้างนอกภาคการเกษตร แทนการท าการเกษตรของตนเองหรือ

               การรับจ้างในภาคเกษตร
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17